ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศภายในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การนิเทศภายใน, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร เพื่อศึกษาการนิเทศภายในโรงเรียน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ในการวิจัยใช้วิธีการหาค่าโดยการสุ่มแบบง่ายจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูได้จำนวน 309 คน ในปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการวางแผนกำหนดภารกิจ ด้านการประเมินผลและตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ด้านการนิเทศการสอน ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ และด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน 2) การนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ การประเมินผลการนิเทศและการรายงานผล การวางแผนการนิเทศและกำหนดทางเลือก การดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน การสร้างสื่อและเครื่องมือในการนิเทศและ การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง 0.802 (r= 0.802) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มอำเภอปลวกแดง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาการ มหาวิทยาลัยเกริก.
ธารทิพย์ ดำยศ. (2561). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กตามการรับรู้ของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ประเสริฐ เนียมแก้ว. (2555). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 4(2), 175 - 188.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). การนิเทศการสอน )Supervisvion Instruetion). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศุภลักษณ์ ลีฬหคุณากร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับผลการดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยางานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา. .
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.
Parson, J., L. (1993). An examination of the relation between participative management perceived institutional effectiveness in North Carolina community colleges. Dissertation Abstract International.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.