ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารกับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของครูในการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหาร ระดับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารกับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 วิธีการศึกษาได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำไปทดลองสอบถาม (try-out) กับกลุ่มทดลองสอบ จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหาร อยู่ในระดับมาก ( = 4.01, S.D. = 0.522) และเมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ สำหรับค่าเฉลี่ยของ ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D.= 0.475) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาภายในสถานศึกษา รองลงมา คือ การผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง การพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก และด้านที่น้อยที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษา ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารกับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาโดยรวมสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(r = 0.754)
References
จิณศิณี บุญทวี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษาเอกชน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฐรฎา พวงธรรม. (2553). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตดุสิต กรงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ราม เรือนทองดี. (2564). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เรียม สุขกล่ำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับประสิทธิผล โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559). ฉบับสรุป (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนงค์ อาจจงทอง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Cohen.j.m. and Uphoff. n. t. (1981). Rural Development Partification: C and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. London: rural Development Committeecenter For international Studies. Cornell university.
Hoy, W.N. & Miskel, C.G. (1978). Educational administration: Theory research and practice. New York : Random House.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1986). Determining sample size for research activities. Educational and Esychological Measurement, 30 (3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.