ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับ การบริหารงานวิชาการโรงเรียน อำเภอเมืองปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • มนตรา แสนคำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อุษาพร กลิ่นเกสร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อัจฉรา นิยมาภา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ทรงยศ แก้วมงคล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อัจศรา ประเสริฐสิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน อำเภอเมืองปทุมธานี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการบริหารวิชาการ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับงานบริหาร วิชาการโรงเรียนในอำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคลและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 226  คน ซึ่งสุ่มมาจากจำนวนประชากร 568 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สุ่มจำนวนโรงเรียน 25 โรงเรียน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Propotion Stratefied Sampling) โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง และขั้นตอนที่ 2 ใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ในการสุ่มจำนวนครู จากโรงเรียนในแต่ละขนาด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้5 อยู่ในระดับมากที่สุด 4 อยู่ในระดับมาก 3 อยู่ในระดับปานกลาง 2 อยู่ในระดับน้อย 1 อยู่ในระดับน้อยที่สุดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

          ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในอำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก (  = 3.91, S.D. = 0.388) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองปทุมธานี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ  ได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( = 3.93, S.D. = 0.450) รองลงมา คือ การระตุ้นทางปัญญา ( = 3.90, S.D. = 0.448)  การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล ( = 3.90, S.D. = 0.448)  และ การสร้างแรงบันดาลใจ ( = 3.88, S.D. = 0.466) 2. การบริหารวิชาการโรงเรียนในอำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา( = 4.15, S.D. =0.744 การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา( = 4.15, S.D. = 0.744 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา( = 3.97 , S.D. = 0.635 การนิเทศการศึกษา ( = 3.88,S.D. = 0.647) การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน( = 3.80, S.D. =0.646) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้( = 3.76, S.D. = 0.765 และ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ( = 3.73, S.D. = 0.584 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการกระตุ้นปัญญามีความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนในอำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกซึ่งอยู่นระดับสูง (  = 0.810) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2545 (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ดำริ บุญชู. (2545, เมษายน). ภารกิจสถานศึกษายุคใหม่สิ่งที่ท้าท้ายบทบาทผู้บริหารและครู. วารสารวิชาการ. 5(4): 2-7 ทฤษฎีงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย. วิทยานินธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เซนต์จอนห์น.

ยุพิน คงเพ็ชรศักดิ์. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

วรณัน ขุนศรี. (2549,เมษายน - มิถุนายน). เส้นมางสู้การเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการชีวิต จริง: กรณีตัวอย่างคณิตศาสตร์. วารสารวิชาการ.9(2): 65-69.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024