ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

ผู้แต่ง

  • นิษรา พรสุริวงษ์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สมนึก การีเวท มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ครุศิลป์ อวนศรี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สุวรรณ ขันตี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 2)เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 4)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1   จำนวน 400 คน  โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise

        ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก   3.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง  (rXY = .888) กับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  4.โดยตัวแปรพยากรณ์ที่ดีการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ดังนี้  ด้านครูผู้สอน (X2) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร(X1) ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (X6) ด้านผู้ปกครองและชุมชน(X3) และ ด้านงบประมาณ(X4)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทั้ง 5 ปัจจัย ดังกล่าวได้ร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2  ได้ร้อยละ 85.40 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ

        Y = 1.484+.417X2 +.317X1+ .297X6+.290X+.288X4

สมการในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน

                ZY = .489X2 +.450X1+ .405X6 +.368X3 +.306X4

                 

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กรรณิกา อรรถชัยยะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่

แกร่งกล้า สุวรรละโพลง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยพะเยา.

เกษแก้ว เจริญเกตุ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในจังหวัดสิงห์บุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชไมพร ธิอ้าย. (2561). ปัจจัยส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

ชนกานต์ เอี่ยมสะอาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฐธิดา งามตา (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 สหวิทยาเขตอิงโขง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยพะเยา.

ดาราวรรณ กลั่นเขตร์การณ์ .(2561).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

นงนุช อินทรโคกสูงวิ .(2565).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์.ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

บงกช สิทธิบรวงษ์.(2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุกัญญา นิ่มพันธุ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สรารัตน์ ปลอดทอง;จินตนา จันทรืเจริญ ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช .(2565).ปัจจัยที่ส่งผลต๋อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย.วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์.6(6):213-226.

พรนภา บุราณรมย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิซาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8(2): 87 - 97.

พระจรัสชัย ทองปีว. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 10 สังกัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper& Row.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024