การวางใจให้เป็นกลางในการดำเนินชีวิตเพื่อความสุขตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • รวิช ตาแก้ว Ravich Takaew มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • อัศวิน ฉิมตะวัน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การวางใจเป็นกลาง, กระบวนทรรศน์, ปรัชญาหลังนวยุค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปรัชญา มีวัตถุประสงค์เพื่อตีความการวางใจเป็นกลางในการดำเนินชีวิตเพื่อความสุขอย่างมีวิจารณญาณตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า การวางใจเป็นกลางคือ วิถีการดำรงชีวิตโดยมีความเป็นตัวตนของตนเองบนทางสายกลาง มนุษย์ประกอบด้วยชีวิต มีจิต และกาย ใจเป็นกลางระหว่างตนเองตามความเป็นจริงในปัจจุบัน กับตนเองที่คนอื่นคาดหวัง และต้องมีการใช้ชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ตกอยู่ในความกดดันของชีวิต วางใจอยู่บนสมดุลระหว่างชีวิตที่ดำรงอยู่ และชีวิตที่คาดหวังได้ เมื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยใจที่เป็นกลางอันพอดีนี้ จิตใจย่อมดำรงปกติสุข

            ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางแสวงหาความสุขด้วยการทำใจเป็นกลางตามแนวกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง โดยมีวิธีทำใจเป็นกลาง 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ยกเลิกสมมติบัญญัติทั้งปวง 2. เฝ้ามองดูสิ่งนั้นด้วยจิตใจ (soul) 3. พิจารณาสิ่งที่พบด้วยใจ (mind) 4. ตั้งคำถามกับสิ่งที่คิดก่อนหน้า ตอบคำถามด้วยสิ่งที่พบ จนหมดสิ้นความสงสัยในขณะนั้น 5. ทำความเข้าใจ และยอมรับในคำตอบนั้น 6. เข้าใจอย่างลึกซ้ำถึงความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายดำเนินไปตามธรรมชาติ

            เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 6 แล้วจะพบว่า คำตอบที่ได้นั้นมาจากการเข้าใจธรรมชาติด้วยการที่ใจ (mind) เป็นกลาง ไม่ได้คิดปรุงแต่งให้เป็นไปตามความคิดของตนเอง จะสามารถทำให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตได้อย่างแท้จริง

References

กีรติ บุญเจือ. (2560ก). ปรัชญาและจริยศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

________. (2560ข). อรรถปริวรรตในปรัชญา ศาสนาและจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์, สิริกร อมฤตวาริน, กีรติ บุญเจือ, เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2564). อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(5), 2051-63.

พระครูรัตนากรวิสุทธิ์, พระครูสังฆวิสุทธิคุณ, พระครูปริยัติสุวัฒนาภรณ์. (2565). พรหมวิหาร 4 กับบทบาทและสิทธิสตรี. วารสารพุทธมัคค์. 7(1): 269-281.

เมธา หริมเทพาธิป (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร. 16(3); 63-77.

สิรินทร์ กันยาวิริยะ, ชิสา กันยาวิระยะ, เมธา หริมเทพาธิป. (2565). พรหมวิหาร 4 กับบทบาทและสิทธิสตรี. วารสารวิจัยธรรมศึกษา. 5(2): 240-249.

Desbordes G, Gard T, Hoge EA, Holzel B, Kerr C, Lazar SW, et al. (2015). Moving beyond mindfulness: Defining equanimity as an outcome measure in meditation and comtemplative research. Mindfulness. 6(2): 356-372. doi:10.1007/s12671-013-0269-8.

Equanimity. Online etymology dictionary. From https://www.etymonline.com.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024