การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • วรชัย วิภูอุปรโคตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุขธนัท อินณะระ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา, สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตามการประเมินครูจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรเป็นครูในสหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 103 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) สร้างเครื่องมือ (3) เก็บรวบรวมข้อมูล และ (4) วิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความสุภาพ รองลงมา คือ ด้านความซื่อสัตย์ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความประหยัด 2) การเปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตามการประเมินของครู จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ทุกด้านไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับ ที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ . (2550). คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กิตติภาส นั่งสูงเนิน และคณะ. (2567). การบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ครูในสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม, 7 (2), 500-516

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรงุ) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม.กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

นุชนภา เรืองเดชไชย (2561) การส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐานสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านหัววัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกริก.

หนึ่งฤทัย มณฑีรรัตนและคณะ. (2562). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัย.

พระสมุห์ประสิทธิ์ ปสิทธิโก (แสนด้วง) (2560) การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.

วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุค 4.0. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์,9(1): 60-69.

วรชัย วิภูอุปรโคตร และธัญศญา ธรรศโสภณ. (2567). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมคุณลักษณะที่ควรส่งเสริมสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูภายใต้การศึกษายุคใหม่ของประเทศไทย. ตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ : บริหารสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 47 “ผู้บริหารหัวใจดิจิทัลการศึกษายุคใหม่ประเทศไทยยุค EdTech” วันที่ 5 เมษายน 2567 ณ โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์สปา จ.ภูเก็ต. (Proceeding)

สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). ชุดฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง เล่ม 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร. กรุงเทพฯ: พีเอลิฟวิ่ง

สดุดี จีระออน. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคประเทศไทย 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2552). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร.กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 – 610.

Viphoouparakhot, V.,et.al (2019). Inspiring creative learning and participatory thinking in graduate students. Proceeding, Office of the Higher Education Commission and Association of Professional Development Networks for Teachers and Higher Education Organizations of Thailand, 26-36.

Viphoouparakhot., V. (2021). Dialogue for proposing guideline for development of social responsibility in terms of morality, integrity, and professional code of ethics of school administrators in Thailand. Naresuan University. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). 14(2): 63-76.

Viphoouparakhot., V. (2024). Enhancing the educational administration experience through ethical leadership of administrators. Proceeding, the 4th international conference on education 24 - 25 February 2024 Chateau de Khaoyai hotel & Resort Pakchong Nakhonratchasima, Thailand organized by Education sub-committee of association of private higher education institution of Thailand under the Patronage of her Royal Highness Princess Mahachakri Sirindhorn (APHEIT), 219-226.

เผยแพร่แล้ว

30-11-2024