นวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบเชิงสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ องค์ประกอบ (Factor Analysis) ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การ เพื่อยืนยัน องค์ประกอบ (Confirmation Factor Analysis) และวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบความสามารถเชิงพลวัตร (Dynamic Capabilities) ขององค์การ ว่ามีอิทธิพลต่อการสร้างนวัตกรรมการจัดการของอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากประชากร ผู้บริหารนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดย เป็นธุรกิจที่จดทะเบียนกรมการท่องเที่ยว ระบบฐานข้อมูลธุรกิจสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและ มัคคุเทศก์กรมการท่องเที่ยวถึงความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้แนวคิดฐานทรัพยากร (Resource-Based View) ที่กล่าวถึงการใช้ทรัพยากรภายในองค์การเพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์การ ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบความสามารถหลักขององค์การที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการจัดการ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ได้แก่ ความมีคุณค่า (Value) ของทรัพยากรองค์การ ความหาได้ยาก (Rarity) ของทรัพยากรองค์การ การลอกเลียนแบบไม่ได้ (Immutability) ของทรัพยากรองค์การ และการทดแทนกัน ไม่ได้ (Non-substitutable) ของทรัพยากรองค์การ และความสามารถเชิงพลวัตรขององค์การมีอิทธิพล ต่อนวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ได้แก่ กระบวนการกลยุทธ์ขององค์การ การเรียนรู้ ขององค์การ วิวัฒนาการขององค์การ ตำแหน่งทางทรัพย์สินขององค์การ และการสืบทอดการถ่ายโอน ความสามารถขององค์การ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลผลการสัมภาษณ์ที่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า นวัตกรรมการจัดการการท่องเที่ยวของประเทศไทย สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยทรัพยากรภายในองค์การเอง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหรือการสร้างความสามารถใหม่ เพื่อให้ได้นวัตกรรมในการให้บริการการเข้าสู่ ตลาดท่องเที่ยว
Innovation of Tourist Industry Management in Thailand
This research aims to investigate a hypothesis model through Factor Analysis and Core Competencies of an administrative organization. In the case of the Confirmation Factor Analysis and the Dynamic Capabilities have conducted influence on building the innovation of tourism management in Thailand in which is consistent with the empirical data based on the Resource-Base View relevant to identify the perception of internal resources used as value creation within the organization.
The results found that the element of core competencies of the organization has been influenced on the innovation of tourist industry in Thailand such as value of internal resources of the organization¸ lack of resources, difficulty of imitation, and non-substitution of resources in the organization.
Moreover, the dynamic capabilities have been affected the innovation of tourist industry in Thailand such as organizational strategies, learning organization, organizational evolution, resource position of organization, and accession/transfer of organization’s competencies, and congruence of interviewed results which supported the hypothesis referred to the innovation of tourism management arising from either change or reconstructed new capacity in order to acquire the innovation created services through tourist markets.