ทักษะการเล่นไวโอลิน และ เจตคติต่อการเรียนไวโอลินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรี ที่เรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติและวิธีการสอนแบบสาธิต

Main Article Content

ภัทริศ ทรัพย์สุนทร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เปรียบเทียบทักษะการเล่นไวโอลิน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรี ที่เรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติ และวิธีการสอนแบบสาธิต 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนไวโอลินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรี ที่มีต่อการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติ และวิธีการสอนแบบสาธิต 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนไวโอลินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรี ที่มีต่อการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติ และวิธีการสอนแบบสาธิต ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ทดสอบก่อนเรียน (pre-test) วัดเจตคติต่อการเรียนไวโอลินของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรี ที่มีต่อการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติ และวิธีการสอนแบบสาธิต กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างห้องละ 20 คน โดยใช้แบบวัดเจตคติต่อการเรียนไวโอลิน แบบ rubric score ชนิด 5 อันดับจำนวน 15 ขอ้ 2) ดำเนินการทดลองวัดทักษะการเล่นไวโอลินของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรี โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้การเล่นไวโอลินโดยวิธีการ สอนแบบบทบาทสมมุติ และวิธีการสอนแบบสาธิต กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างห้องละ 20 คน จำนวนกลุ่มละ 17 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง 3) ทดสอบหลังเรียน (post-test) วัดเจตคติต่อการเรียนไวโอลินของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรี ที่มีต่อการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติ และวิธีการสอนแบบสาธิต กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างห้องละ 20 คน โดยใช้แบบวัดเจตคติต่อการเรียนไวโอลิน ชุดเดียวกับการทดสอบก่อนเรียน แบบ rubric score ชนิด 5 อันดับ จำนวน 15 ข้อ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการเล่นเรียนไวโอลินโดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติ สูงกว่า วิธีการ สอนแบบสาธิต 2) เจตคติต่อการเรียนไวโอลินโดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติ สูงกว่า วิธีการสอนแบบ สาธิต 3) เจตคติต่อการเรียนไวโอลินโดยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติ หลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียน และ เจตคติ ก่อนเรียน และหลังเรียน ต่อการเรียนไวโอลินโดยวิธีการสอนแบบสาธิต ไม่ต่างกัน

 

Violin Skills and Attitude of Leaning Violin to 4th Grade Student,
Sarasas Witaed Thonburi School Learned by Role - Playing
and Demonstration Methods

This research is experimental research. The purposes of this research were to :1) Comparison between violin skills learned by Role - Playing and Demonstration Methods for the 4th grade student, Sarasas Witaed Thonburi school. 2) Comparison between attitude of learning violin learned by Role-Playing and Demonstration Methods for the 4th grade student, Sarasas Witaed Thonburi school. 3) Comparison between attitude of learning violin learned by Role-Playing and Demonstration Methods in both before and after learning for the 4th grade student, Sarasas Witaed Thonburi school as follows : 1) To pre-test before learning for attitude of learning violin learned by Role-Playing and Demonstration Methods for the 4th grade student, Sarasas Witaed Thonburi school, with 20 sample students is the classroom, using 15 rubric scores. 2) To manage of test for violin skills by violin skills lesson plans which learning of Role-Playing and Demonstration Methods for the 4th grade student, Sarasas Witaed Thonburi school, using violin skill lesson plan for 17 sample students, there are 17 plan, which each 1 hour this class. 3) To post-test after learning for attitude of learning violin learned by Role-Playing and Demonstration Methods for the 4th grade student, Sarasas Witaed Thonburi school, with 20 sample students is the classroom, using 15 rubric scores.

The results of this research showed that :1) Violin’s skill learned by Role-Play is better than Demonstration Methods. 2) Attitude of learning violin learned by Role-Play is better than Demonstration Methods. 3) Attitude of learning violin learned by Role-Play after learning is better than before, Attitude of learning violin learned by Demonstration Methods both before and after learning are not different.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)