ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะนักบัญชีที่พึ่งประสงค์ กับความต้องการในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

ธีระวัฒน์ จันทึก
วสันต์ พรพุทธพงศ์

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะนักบัญชีที่มีพึ่งประสงค์ 2) ความต้องการ ในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฎิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์กับความต้องการในการนำหลักธรรมาภิบาล มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจจำนวน 100 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันผลการศึกษา พบว่า

1) คุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์ในด้านความรู้ความสามารถ ต้องคำนวณตัวเลขได้ ถูกต้องแม่นยำ ด้านความสนใจใฝ่รู้ต้องมีความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล และ ด้านการมีความสามารถในการจัดทำรายงานให้คนอื่นเข้าใจได้

2) ความต้องการในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน ด้านหลักนิติธรรม พบว่า มีความต้องการ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ ที่องค์กรนำมาใช้มีความถูกต้องทันสมัย และเป็นที่ยอมรับ ด้านหลักคุณธรรม พบว่า มีความต้องการ ให้บุคลากรอยู่ร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานอย่างสงบสุข ด้านหลักความโปร่งใส พบว่า ควรมีการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรด้วยบุคลากรในองค์กร ด้านหลักการมีส่วนร่วม พบว่า มีความต้องการให้บุคลากรมีโอกาสได้ร่วมปฏิบัติกิจกรรมในองค์กร อย่างทั่วถึง ด้านหลักความรับผิดชอบ พบว่า มีความต้องการให้ผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะร่วมกัน แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และด้านหลักความคุ้มค่า พบว่า มีความต้องการให้มีการประเมินผล การปฏิบัติงานของบุคลากรและการดำเนินงานอย่างสมํ่าเสมอ

3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์กับความต้องการในการนำหลัก ธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสัมพันธ์ กันในทางบวก อธิบายได้จากสมการ y=1.033+0.422 (ด้านความรู้ความสามารถ)+(-0.027) (ด้านความ สนใจใฝ่รู้)+0.437 (ด้านการสื่อสาร)

 

The Relationship Between Desired Accountant Characteristics and the Need of Principle of Good Governance Readiness to ASEAN Community

The study of the relationship between desired accountant characteristics and the need for principle of good governance readiness to ASEAN community aims to find out the following ; 1) the desired accountant characteristics ; 2) the need for the principle of good governance readiness for participating in ASEAN Community ; and 3) the relationship between desired accountant characteristics and the need for principle of good governance readiness to ASEAN community. In this research the participants were entrepreneurs from 100 places in the business sector selected by using convenience sampling. The tool used in the research for collecting data was questionnaires and data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson the collected. The findings were on follows :

1. As for the desired characteristics of accountant on knowledge and abilities, entrepreneurs demanded accountants with ability of correct calculation, and inquiring mind. Moreover, the entrepreneurs needed for the accountants with ability of internet surfing to search the information. With regard to communication, entrepreneurs demanded accountants with ability of preparing needed reports that could make other people understand easily.

2. The demand of utilizing the principle of good governance regarding rule of law, it was found that entrepreneurs demanded correct, accepted and up-to-date rules and regulations. As to the ethical principle, it was found that entrepreneurs desired to see their personnel work together with their colleagues peacefully. On the principle of transparency, it was found that operation monitoring should be provided and performed by internal personnel. On the principle of participation, it was found that entrepreneurs demanded to see their personnel have some opportunities to participate in organization’s activities extensively. On the principle of responsibility, it was found that entrepreneurs desired to see their executive spay much attention to solving problems occurring in the organization. On the principle of effectiveness, it was found that entrepreneurs desired the evaluation of personnel’s performance on a continualbasic. These demands were in the highest level as well.

3. There was a relationship between desired accountant characteristics and the need for the of principle of good governance readiness to ASEAN community. The relationship between the two variables was highly positive as show by the model : y=1.033+0.422 (knowledge and abilities)+(-0.027) (interest and knowledge seeking)+0.437 (communication)

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)