แนวคิด: งานสาธารณสุขมูลฐานที่มุ่งเน้นชุมชน
Main Article Content
Abstract
แนวคิดงานสาธารณสุขมูลฐานที่มุ่งเน้นชุมชน เป็นแนวคิดที่ Prof. Sidney L Kark ผู้บุกเบิกงาน ด้านเวชศาสตร์ชุมชน เป็นผู้นำมาใช้เริ่มแรกที่ประเทศ อัฟริกาใต้ต่อมาที่ประเทศอิสราเอล และแพร่หลาย ไปทั่วโลกทั้งในยุโรป และอเมริกา คำว่าสาธารณสุขมูลฐานที่มุ่งเน้นชุมชน หมายความถึงระบบของการ ดูแลสุขภาพที่รวมบริการทางการแพทย์ที่ดูแลปัจเจกบุคคลและเวชศาสตร์ชุมชนเข้าเป็นหนึ่งเดียว ในการ ปฎิบัติงานด้านเวชศาสตร์ชุมชนนั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องตอบคำถามสำคัญ 5 ข้อ ดังนี้ 1) สภาวะสุขภาพ ของชุมชนเป็นอย่างไร 2) อะไรเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสภาวะสุขภาพเช่นนี้ 3) ระบบบริการสุขภาพได้ทำอะไร ไปบ้าง และชุมชนเองได้ทำอะไรไปบ้าง 4) อะไรที่สามารถทำได้อีก จะเสนอแนะอะไร และหวังว่าจะเกิด ผลอะไรบ้าง 5) มีมาตรการอะไรที่จำเป็นที่จะสามารถให้การดูแลอย่างต่อเนื่องได้ในชุมชน และมีการ ประเมินผลที่ได้รับจากกิจกรรมที่ได้กระทำลงไปอย่างไร การตอบคำถามทั้ง 5 ข้อ จะกระทำได้โดย 1) การวินิจฉัยชุมชน เพื่อดูสภาวะสุขภาพของชุมชน และดูว่าอะไรเป็นปัจจัยหรือตัวบ่งชี้ที่ก่อให้เกิด สภาวะสุขภาพ 2) การให้การดูแลสุขภาพในชุมชน โดยระบบบริการสุขภาพ และโดยชุมชนเองและอะไร ที่จะทำเพิ่มเติม หรือหากมีปัญหาจะเสนอแนะอะไร หวังว่าจะเกิดผลอะไร 3) การเฝ้าระวังสุขภาพ และ การประเมินโครงการที่ได้กระทำลงไปซึ่งเป็นบทบาทของนักระบาดวิทยาและนักสถิติในการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำลงไป ในการให้การดูแลสุขภาพชุมชนมีลักษณะที่จำเป็น 3 ประการ คือ 1) การให้บริการที่ชุมชน ในชุมชน ประกอบด้วย ครอบครัว โรงเรียน สถานประกอบการ 2) ในการให้การดูแลสุขภาพจะมุ่งเน้นที่ชุมชน ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและความ พิการ ด้านบริการการรักษา ด้านการฟื้นฟูสภาพ 3) การมีส่วนร่วมของชุมชน
Community-Oriented Primary Care-COPC-Concept
Community-Oriented Primary Care concept was derived from Professor. Sidney L Kark, the pioneer practice of Social Medicine. Beginning in South Africa then in Israel and later to Europe and United State of America and Latin America. The definition of Community- Oriented Primary Care is a system of health care that unifies individual and community medicine. Practitioners of community medicine need to answer the following cardinal questions as followed: 1) What is the state of health of the community? 2) What are the factors responsible for this state of health? 3) What is being done about it by the health service system and by the community itself? 4) What more can be done, what is proposed, and what is expected outcome? 5) What measures are needed to continue health surveillance of the community and to evaluate the effects of what is being done? Answers to these questions are related to each important areas of community medicine; namely community diagnosis, community health care, surveillance of health, and evaluation of programs developed. The essential characteristics of community health care should be 1) community-based health care which include families, schools, places of work, and residential institution. 2) communityoriented care-promotion of health, prevention of disease and disability, curative services, and rehabilitation. 3) community involvement.