การศึกษาการเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชาย ให้เป็นกระแสหลักการพัฒนาในมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนและกำแพงแสน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับปัจจัยองค์การ และระดับการเสริมสร้างความเสมอภาค หญิงชายให้เป็นกระแสหลักการพัฒนาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนและกำแพงแสน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชายให้เป็นกระแสหลักการพัฒนาใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนและกำแพงแสน กลุ่ม ตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนและกำแพงแสน จำนวน 197 คน ใชวิ้ธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม หาความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ .854 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าคงที่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ทางเดียว กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =.2538, S.D.=.40) การเสริมสร้างความ เสมอภาคหญิงชายให้เป็นกระแสหลักการพัฒนาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =.1400, S.D.=.21)
2) ปัจจัยส่วนบุคล ได้แก่ เพศ (t=-1.114, P=.267) อายุ (F=.436, P=.647) ระดับการศึกษา (F=.660, P=.578) ตำแหน่งงาน (F=.066, P=.937) สายงาน (t=-.901, P=.369) การทำงานตำแหน่งบริหาร (t=.421, P=.675) และวิทยาเขต (t=-.041, P=.967) ไม่มีผลต่อการเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชาย ให้เป็นกระแสหลักการพัฒนา ขณะที่ปัจจัยองค์การ (F=4.469, P=.013) มีผลต่อการเสริมสร้าง ความเสมอภาคหญิงชายให้เป็นกระแสหลักการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
GENDER MAINSTREAMING IN UNIVERSITY: A CASE STUDY OF KASETSART UNIVERSITY BANGKEAN AND KAMPHAENG SAEN CAMPUS
The purposes of this research were 1) to study the level of organization factor and the level of gender mainstreaming of Kasetsart University Bangkean and Kamphaeng Saen Campus, and 2) to study the factors that influence gender mainstreaming. The multi-stage random sampling technique was used in this study and the sample consisted of 197 staff members of of Kasetsart University Bangkean and Kamphaeng Saen Campus. The data were collected by questionnaires with Cronbach’ s Alpha Coefficient of .854. The statistics used in the research were mean, standard deviation, t-test, One-way Analysis of Variance with the level of statistical significance at .05. The results of the research showed that: 1) the organization factor was at a moderate level ( =.2538, S.D.=.40) and gender mainstreaming was at a moderate level ( =.1400 S.D.=.21), 2) the personal factors such as gender (t=-1.114, P=.267), age (F=.436, P=.647), education level (F=.660, P=.578), position (F=.066, P=.937), job line (t=-.901, P=.369), being executive management (t=.421, P=.675) and campus (t=-.041, P=.967) did not affect gender mainstreaming, whereas the organization factor (F=4.469, P=.013) affected gender mainstreaming significantly.