การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ 2) ทดสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีผลการสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 400 กิจการ โดยได้ใช้เทคนิคสถิติการวิเคราะห์ด้วยโมเดลสมการโครงสร้างแบบเต็มรูปแบบอันประกอบ ด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง และการ สัมภาษณ์เจ้าของกิจการ ตัวแทนฝ่ายบริหาร ทายาทกิจการ ผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป
ผลการศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันตามโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันประกอบด้วย 4 ปัจจัยคือ ปัจจัยผู้ประกอบการ ปัจจัยกลยุทธ์ระดับธุรกิจ ปัจจัยนวัตกรรม และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ โดยผลการทดสอบ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน พบว่าได้โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ซึ่งตัวแปร ที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการได้เปรียบในการแข่งขันประกอบด้วยผู้ประกอบการและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ ส่วนอิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ นวัตกรรมองค์การ ทั้งนี้ตัวแปรทั้ง 3 ตัวอันได้แก่ ผู้ประกอบการ กลยุทธ์ ระดับธุรกิจ และนวัตกรรมองค์การ ล้วนมีอิทธิพลรวมต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และ ตัวแปรวัฒนธรรมองค์การไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของกิจการ ทั้งนี้ข้อมูล เชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ได้สนับสนุนผลการวิจัยเชิงปริมาณที่ได้ โดยข้อเสนอแนะสำหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพพื้นฐานที่สำคัญของการผู้ประกอบ การซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งการมีความคิดสร้างสรรค์ การกล้าเผชิญความเสี่ยงและการเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่สำคัญ
Creation of Competitive Advantages of Small and Medium-Sized
Business of the Vehicle Industry in Thailand
The objective of the study are three-fold : 1) To analyze the factors influencing a competitive advantages the Creation of Competitive Advantages of Small and Medium-Sized Business. 2) To test the structural relationship of factors influencing the competitive advantages; and 3) to determine the direct and indirect effect as well as the overall effect of factors influencing the creation of competitive advantages. 400 businesses comprised the sample for the study. The collected data were analyzed using structural equation modeling technique including confirmatory factor analysis and structural relationship. Also included were in-depth intensives with entrepreneurs, executives, entrepreneurs’ successors, and middle management.
As a result of the data analysis, the researcher has found the following: Based on the analysis using CFA, it was found that four factors were responsible for the creation of competitive advantages ; they were : the characteristics of the entrepreneur, business strategies, innovations, and organizational culture. As a result of the testing of structural relationships of factors responsible for the creation of competitive advantages, it was found that the model was congruent with the empirical data at the statistical significance at the 0.01 level. The variable having direct effect on the competitive advantages were the characteristics of entrepreneurs and the strategic business whereas the variable having indirect effect was organization’ innovation. All the three variables had total influence on the creating of the competitive advantages, organizational culture had no influence on the creation of the competitive advantages. It was noteworthy that the data derived from in-depth interviews supported the findings of the quantitative research. Based on the findings, the researcher has made the following recommendations: the entrepreneurs of the small and medium-sized entrepreneurs should make efforts to enhance the knowledge and capabilities deemed highly important to entrepreneurs so that the competitive advantages could become a reality-both in terms of creativity, risk taking, and the most efficient use of human resource.