การเรียนขับร้องไทยสำหรับนักศึกษาดนตรีสากล: สภาพ ปัญหา และแนวทางการแก้ไข

Main Article Content

วราภรณ์ รุ่งเรือง

Abstract

งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยในชั้นเรียน แบบประสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของผู้เรียนวิชาขับร้องเพลงไทย ในรายวิชาการขับร้องเพลง ไทย คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ปีการศึกษา 2555 และ 2) เพื่อศึกษาหาแนวทางการ แก้ไขปัญหา

ผลการวิจัยพบว่า ด้านกายภาพและครอบครัว นักศึกษาร้อยละ 95 มีสภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ร้อยละ 5 มีนํ้าหนักเกินเกณฑ์เฉลี่ย ร้อยละ 30 มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี ร้อยละ 60 ฐานะปานกลาง และ ร้อยละ 10 ฐานะยากจน ด้านวิชาการ ร้อยละ 80 มีผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 10 ในระดับดี ถึงดีมาก และร้อยละ 10 ในระดับตํ่า สภาพและบรรยากาศในห้องเรียนมีความเหมาะสม

ปัญหาที่พบ ผู้เรียนร้อยละ 50 มีภาวะเพี้ยนเสียง คือ ร้อยละ 60 เพี้ยนสูงและร้อยละ 40 เพี้ยนตํ่า ผู้เรียนส่วนมากมีปัญหาด้านลีลาการร้องเพลงแบบไทย ไม่จำเพลง แต่มีความรู้สึกด้านจังหวะในระดับดี

วิธีการแก้ปัญหา 1) การเพี้ยนเสียง แก้ไขโดยให้ผู้เรียนออกเสียงพร้อมกับเครื่องดนตรีเสียง ตายตัว จากเสียงเดียวไปสู่ทำนองเพลง ทำซํ้าๆ บ่อยๆ จนเกิดความเคยชิน 2) การไม่จำเพลง แก้ไข โดยฝึกร้องเพลง จากง่ายไปหายาก จากเพลง 5 เสียงที่คุ้นเคยไปสู่เพลง 7 เสียงที่ซับซ้อนขึ้นจนถึง เพลงเถาง่ายๆ และให้ฝึกจากบทเพลงที่มีเนื้อร้องประกอบกันกับโน้ตสากล โดยให้เรียนรู้เพลงทั้ง เพลงก่อนแล้วร้องตามครูทีละวลี จนคล่อง แล้วจึงร้องต่อกันเป็นวรรค ท่อน และทั้งเพลงโดยฝึกร้องซํ้าๆ จนจำได้ ผลปรากฏว่าเมื่อได้ใช้วิธีการดังกล่าว ผู้เรียนสามารถร้องเพลงไทยได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

Learning Thai Vocal Music: Situation, Problems and Solving Method

This is a mixed research between qualitative and quantitative that aimed to: 1) Study the situations and problems in learning Thai music singing of the western music students of Faculty of Music, Bankokthonburi University. 2) Find the ways to solve those problems.

The research results were: Physical and family status, 95% of students were healthy, 5% was overweight; 30% were from above normal economic level, 60% from average level and 10% from lower level. For academic status, 80% were in average, 10% are above and 10% are lower. The class room circumstances and atmosphere were good. The finding problems were 50% of those students were in pitches deviating in which 60% were higher deviate and 40% were lower deviate.

Method of solving of pitches deviation was: 1) having the students practices along with the fixed pitch instrument began with single note, then, melody and repeated it over and over. 2) Problem of unable to remember the songs could be solved by learning an easy familiar song in pentatonic then septatonic and lastly learning the song in tripartite form. Using music with having the song text underneath let the students see music as a whole, then practice each single phrase after the instructor, then verse and movement, finally practice the entire song several times. Using the method said above, the improvement of students’ abilities in singing was obvious.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)