แบบจำลองปรับขยายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคใต้

Main Article Content

ฉวีวรรณ รักษ์แก้ว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัด ภาคใต้ และเพื่อพัฒนาแบบจำลองปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา ภาคใต้ จำนวน 78 โรงเรียน จากโรงเรียนในปีการศึกษา 2555 จำนวน 336 โรงเรียน ด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stages random sampling) ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 7 คน เครื่องมือ ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความคิดเห็น (Survey Questionaire) ที่ผ่านกระบวนการพัฒนา ตามหลักการวิจัย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้างต้นด้วยค่าสถิติพื้นฐานและ การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วย Method Enter และ Method Stepwise ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. ระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคใต้ ทั้งในภาพรวมและ จำแนกตามขนาดโรงเรียน อยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก และมีลักษณะเสถียรภาพ

2. โครงสร้างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคใต้ ทั้งในภาพรวม และแยกตามขนาดโรงเรียน มิติบุคลิกภาพของผู้บริหาร มีความสำคัญเป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นไปเช่นเดียว กับหลักวิชาการ แต่ที่น่าสนใจคือโรงเรียนขนาดกลางที่โครงสร้างภาวะผู้นำแตกต่างไปจากภาพรวม และ โรงเรียนขนาดอื่นๆ และแตกต่างไปจากหลักวิชาการ นั่นคือภาวะผู้นำมิติคุณธรรมจริยธรรม มีความสำคัญ เป็นลำดับแรก

3. แบบจำลองปรับขยายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษา ภาคใต้ ที่พัฒนาได้ถึงแม้จะมีโครงสร้างของกลุ่มปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคใต้ ตามหลักวิชาการทั้ง 6 กลุ่มปัจจัย แต่จำนวนโครงสร้างของปัจจัย ลดเหลือเพียง 5 กลุ่มปัจจัย และปัจจัยย่อยในกลุ่มปัจจัยทั้ง 5 ลดจากทั้งหมด 48 ปัจจัยย่อยเหลือเพียง 10 ปัจจัย แต่ประสิทธิภาพการทำนายค่ายังใกล้เคียงกัน (78.50% และ 76.00% ตามลำดับ)

4. สมการแบบจำลองปรับขยายปจั จัยที่มีอิทธิพลตอ่ ภาวะผูน้ ำทางเทคโนโลยีของผูบ้ ริหารโรงเรียน มัธยมศึกษา ภาคใต้ ในภาพรวม (Y) ที่เรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยทำนายค่า betaweight คือ

\hat{Y}_{tot} = 17.116+ 4.088(X18)- 2.943(X52) + 2.623(X33) + 2.537(X21) + 2.273(X14)+ 2.073(X53)+ 1.966(X43)+ 1.930(X13)+ 1.795(X11)+ 1.715(X27): 100R2 = 76.00% (4.368)(0.753)(0.907) (0.529) (0.662)(0.872) (0.918) (0.669)  (0.921) (0.575)(0.535)  

 

A Modified Model of Factors Influencing Administrators’ Technological Leadership of Secondary Schools in the Southern Part of Thailand

The purposes of this dissertation were to examine the level of administrators’ technological leadership of the secondary schools under the Southern Secondary Educational Service Office and to develop a modified model of factors influencing administrators’ technological leadership of the secondary schools in the southern part of Thailand. The study sample were 78 secondary schools under Southern Secondary Educational Service Office out of 336 secondary schools in academic year 2012, selected by using the multi-staged random sampling technique. Each school provided 7 informants participating in this research. The instrument used for collecting the data was a survey questionnaire constructed as required by research principles and the collected data were analyzed by basic statistics and Multiple Regression Analysis with Method Enter and Method Stepwise at the .05 level of significance. The study results revealed that: 1. The level of administrators’ technological leadership of the secondary schools in the southern part of Thailand ranged from high to very high levels in whole and in part with stability. 2. The structure of administrators’ technological leadership of the southern secondary schools as a whole and as classified by school size consisted of administrators’ personality as the first priority in accordance with academic principles. An interesting point to ponder was that medium-sized schools having a specific structure of leadership different from the whole and schools with other sizes and even distinguished from academic principles. This indicated that, for leadership, morality was the first priority. 3. Although the developed modified model factors influencing administrators’ technological leadership of the secondary schools in the southern part of Thailand had a structure consisting of factors influencing administrators’ technological leadership of the southern secondary schools as required by academic principles in all 6 factors, the number of structure factors decreased in 5 factors and in all 5 factors, the number of sub-factors was only 10 out of 48. Nevertheless, it exhibited an approximate efficiency of prediction (78.50 % and 76.00 %) 4. The equation of modified model factors influencing administrators’ technological leadership of the southern secondary schools as a whole (Y) with arrangement of priorities of factors predicting beta-weight as follows.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)