ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรใน จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

นริศร ทองธิราช

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลชุดต่างๆ เกี่ยวกับการ แก้ไขปัญหาที่ดินของเกษตรกร โดยเน้นนโยบายการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในสมัยรัฐบาล นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากกฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของทางราชการเกี่ยวกับเรื่องปัญหาที่ดินของเกษตรกร (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดิน ของเกษตรกรในประเทศไทยตามแนวนโยบายการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล โดยเกษตรกรจังหวัดสกลนคร เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาจากการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวนี้มีผลสรุปได้ดังนี้

1. ปัญหาที่ดินของเกษตรกรที่นโยบายของรัฐจะต้องเข้าไปแก้ไขโดยรวมก็คือปัญหาเกษตรกร ที่มีที่ดินทำกิน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ทำให้ต้องบุกรุกใช้ประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐ หรือเขตป่าสงวนแห่งชาติ ปัญหาเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอต้องเช่าที่ดินเพิ่มเติมบางส่วน เพื่อยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น ปัญหาเกษตรกรต้องเช่าที่ดินทำกินทั้งหมด โดยไม่มีที่ดินทำกินเลย และ ปัญหาเกษตรกรที่ไร้ที่ดิน มีอาชีพรับจ้างทำงานทั้งภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร

2. ปัญหาที่ดินของเกษตรกรดังกล่าวพบว่า นโยบายของรัฐควรกำหนดมาตรการที่เข้มข้น ในการดำเนินการ เช่น การกำหนดเขตการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ การจัดระบบเอกสารสิทธิใหม่โดยให้มี เอกสารสิทธิใหม่โดยให้มีเอกสารสิทธิชนิดเดียวคือโฉนดที่ดิน การเร่งรัดในการจัดระบบฐานข้อมูล เกี่ยวกับที่ดินทำกินเพื่อกำหนดมาตรการควบคุม โดยข้อมูลนี้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่ายและโปร่งใส และการหาหนทางนำที่ดินที่ถูกทอดทิ้งมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อเป็นที่ดินทำกินของเกษตรกร ทั้งนี้ โดยสรุปควรกำหนดมาตรการที่ชัดเจนโดยรวม คือ มาตรการปฏิรูปที่ดิน การจัดให้มีธนาคารที่ดิน การจัด รูปที่ดิน และมาตรการการจัดเก็บภาษีที่ดิน

3. จากการศึกษากรณีตัวอย่างนโยบายของรัฐกับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรจังหวัด สกลนครพบว่า เกษตรกรยังคงประสบปัญหาการไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปัญหาขาดแคลนนํ้าที่ใช้ในการ เกษตรกรรม ปัญหาที่ดินทำกินถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า และปัญหาเกษตรกรผู้ไม่มีสิทธิโดยชอบ ด้วยกฎหมายในที่ดิน

อย่างไรก็ตามจากการศึกษานโยบายของรัฐบาล (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) พบว่า นโยบาย การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ที่เร่งรัดการออกเอกสารสิทธิที่ดินทำกิน ที่มีผลทำให้เกษตรกรบางส่วน สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้นั้น ก่อให้เกิดผลที่ไม่ได้คาดคิดไว้คือการกระตุ้นให้เกษตรกรได้ประกอบอาชีพ อิสระเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้

 

Proposed policy for solving the Problems of Farmers’ Land Ownership in Sakon Nakhon Province

The study underlying this dissertation was undertaken to (1) identity and analyze the Thai government’s policies toward farmland problems, with special emphasis on those policies originating from or promoted by Miss Yingluck Shinawatra the Prime Minister;(2) identify and analyze the problems and difficulties in resolving farmland problems which stem directly from official rules and regulations pertaining to this issue; and (3) identify and analyze various alternative approaches to solving the problem of farmland, using Sakon Nakhon Province as a typical case-study.

The research findings were as follows.

1. The central issue regarding farmland improved by the government is that the farmers who work on it have no legal ownership right which gives them an incentive to colonize unoccupied public land or National Forest Conservation land. This problem does not generally arise for those farmers who rent part of the land they till in order to increase their production and thus their revenue. Rather, it is a problem specific to those farmers who must rent all the land they farm because they own nothing themselves, and those landless farmers who split their productive time between the agricultural and other sectors.

2. Public policy should provide clear guidelines for land-use zoning, and an enforceable land ownership system of which the prime evidentiary document is a title deed. It should also be the driving force behind a comprehensive data base that can be used to choose transparently between competing developments plans for unoccupied land with the aim of retaining it as farmland and providing its farmers with clear title. For such public policy to be successful and effective, it must be multi-dimensional, encompassing land reform, the setting-up of a Land Bank, standardization of rules governing land taxation, and maintenance of a depository of topographical and other descriptive characteristics.

3. The major problems facing public policy in the case study area of Sakon Nakhon are those involving disputed or undocumented land ownership, insufficient water resources, misallocation of land resources, and the legal limbo inhabited by scores of farmers who nonetheless have no statutory right to the land they are farming.

Finally, the special study of public policy under the prime minister Miss. Yingluck Shinawatra The prime Minister found that the favored asset to capital conversion scheme under which some farmers are able to obtain clear title to the land they farm has had the unintended consequence of encouraging those farmer to use their new ownership rights to tap sources of capital for non-farm related uses and purchases.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)