การวัดระดับการบริโภคผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้ ผลต่อการกำหนดนโยบายบริหารอุตสาหกรรมชุมชน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน เพื่อวัด ระดับการบริโภคด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้ของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน รวมถึงการเสนอเป็นแนวทางด้านการจัดการในผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่าง การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ชุมชน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมาน ได้แก่ Pearson Chi-Square รวมถึงการวิเคราะห์ค่าความยืดหยุ่น อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand: EI)
โดยผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคเกือบทั้งหมดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านราคาสินค้า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมทางการตลาด อยู่ในระดับมาก ในขณะเดียวกันก็เห็นว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคโดย รวมอยู่ในระดับชื่นชอมมาก อย่างไรก็ตามหากพิจารณาด้วยค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้ ที่ใช้เป็น เครื่องมือในการวิเคราะห์ระดับการบริโภคในทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ผู้มีรายได้ตํ่ากว่า 30,000 บาท เมื่อ รายได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ในทัศนะจะพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นสินค้าปกติ ตรงข้ามกับผู้ที่มีรายได้ มากกว่า 30,000 บาท เห็นว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนนั้นเป็นสินค้าเข้าใกล้สินค้าจำเป็น
สำหรับในด้านของนโยบายการบริหารอุตสาหกรรมชุมชนนั้น ควรมีการกำหนดนโยบายให้มีความ สัมพันธ์กับบริบทด้านการพัฒนาสังคมไทย ควรมีการนำเอาภูมิปัญญาของชาวบ้านมาเป็นทุนในการจัดการ หรือการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐถือว่าเป็นหน่วยงานสำคัญของการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชน เพราะวิสาหกิจชุมชนเกิดจากประชาชนผูเ้ ปน็ ฐานรากทางสังคม อยูใ่ นสังคมชนบท หา่ งไกลความเจริญ การดำเนินงานของรัฐเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐได้พัฒนานโยบายเพื่อการสนับสนุน วิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรคของการจัดการภาครัฐคือ การบริหารงาน ด้วยการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐเอง
Measurement of Consumption Level in Product of Community Enterprise on Elasticity of Income Technique Affect to Community Industrials Policy
This research aimed to factor of consumption behavior community enterprise product for Measurement of Consumption Level in Product of Community Enterprise on Elasticity of Income Technique. Including, presented as the community product management, mixed method research between qualitative and quantitative. Sampling was consumer in community product. The researchers used statistics in analysis was descriptive statistics and inferential statistics. Including, analysis Economics Technique of Elasticity of Income.
The results showed that almost all consumers have opinions about of factor affect consumer behavior in quality price place and promotion were high level. While that consumer behavior overall was much the better. However, considering the income elasticity of demand, used as a tool to analyze the level of consumption in economics. Found that those earning less than 30,000 baht when income increased, them considered in the normal goods. Conflicting, those who earn more than 30,000 baht that were commodities goods.
For community industrial policy, there should be a policy to have a relation to the social context in the development of Thailand. Taken wisdom of the people should have a capital in the deal. The government was considered to be the importance of developing community enterprises. However, what was also the barrier of government managements were running with integration between different departments of the government.