เพลงปรบไก่: ต้นเค้าของหน้าทับปรบไก่
Main Article Content
Abstract
บทความเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “เพลงปรบไก่ สร้างสรรค์ใหม่จากความทรงจำ ในอดีต” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้เทคนิคการวิจัยทางมานุษยดุริยางควิทยา มีจุดประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางดนตรีเพลงปรบไก่ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพลงปรบไก่กับหน้า ทับปรบไก่ในดนตรีไทย และ 3. เพื่อการสร้างสรรค์เพลงปรบไก่ร่วมสมัย การวิจัยนี้เก็บข้อมูลภาคสนาม ที่บ้านดอนข่อย อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีและที่ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี โดยการสังเกต สัมภาษณ์บันทึกเสียง บันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อนำมาวิเคราะห์ทาง ดุริยางควิทยา ผลการศึกษาพบว่าเพลงปรบไก่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏชื่อในวรรณคดีหลายเรื่อง ปัจจุบันสูญหายไปเกือบหมดเนื่องจากไม่มีการใช้งานในสังคม คงมีเล่นกันประปรายในบางหมู่บ้านที่จังหวัด เพชรบุรีราชบุรีและจังหวัดนครปฐม นอกจากชื่อของเพลงปรบไก่แล้ว ทำนองรับของลูกคู่ สื่อให้เห็นว่า “เพลงปรบไก่” เป็นต้นเค้าของ “หน้าทับปรบไก่” ในดนตรีไทยตามข้อสันนิษฐานของครูมนตรีตราโมท
Phleng Probkai: The Origin of Rhythmic Pattern Probkai
This article is part of a research entitled “Phleng Probkai: The Recreation on Memory from the Past” a kind of qualitative research based on ethnomusicological research technique aims to studies: 1) music traits of phleng-probkai 2) relationship between phleng-probkai and the rhythmic pattern in Thai music called nathab-probkai” and 3) to create a contemporary phleng-probkai. This research collected data by field studies at Donkhoi village, Banlad district, Petchaburi province by observation, interviewing, audio and video recording in order to analyze this information in term of musicology. The research result was: phleng-probkai has been existed since Ayuthaya period; its name appeared in many Thai literatures. Phleng-probkai had been declining because lacked of social function and still perform only at some specific areas in Petchaburi, Rachaburi, and Nakhon-prathaom provinces. Beyond the title “probkai”,the refrain of probkai plays suggested that it was an origin of Thai music rhythmic pattern called “nathab probkai” as mentioned by Montri Tramote.