การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อนันต์ โพธิกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของประชาชน ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความสุขของประชาชน ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชน ในเขตทวีวัฒนากรุงเทพมหานคร

การวิจัยเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชน ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเพียง ครั้งเดียวแบบตัดขวาง (CrossSectional Design) กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ประชากรประกอบด้วยประชาชนที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่อาศัยอยู่ในแต่ละหลังคาเรือน ของแขวงทวีวัฒนาและแขวงศาลาธรรมสพน์เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 31,242 คน สำหรับ วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้อาศัยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และหาขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร TaroYamane ซึ่งผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน

การวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์โดยใช้สถิติ อนุมาน (Inferential statistics) ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple regression analysis) โดยวิธีคัดเลือกตัวแปรเข้าสู่สมการแบบขั้นตอน (Stepwise) เพื่อวิเคราะห์ว่าตัวแปร อิสระมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามมากน้อยเพียงใด ตัวแปรใดมีอิทธิพลมากที่สุดและรองลงมาตามลำดับ

ผลการทดสอบสมมุติฐานของการวิจัย พบว่าการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีอิทธิพลต่อความสุขของประชาชนในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวน ของตัวแปรความสุขของประชาชนในเขตทวีวัฒนากรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 90.10 ส่วนตัวแปรปัจจัย รายด้านพบว่า 1) ความพอประมาณ 2) การมีเหตุผล 3) การมีภูมิคุ้มกัน 4) เงื่อนไขความรู้และ 5) เงื่อนไขคุณธรรม ก็มีอิทธิพลต่อความสุขของประชาชนในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานครเช่นกัน โดยตัวแปรปัจจัยรายด้านทั้ง 5 ด้านสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสุขของประชาชน ในเขตทวีวัฒนากรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 95.90 และมีอิทธิพลในการทำนายตัวแปรความสุขของ ประชาชนในเขตทวีวัฒนากรุงเทพมหานครได้ระหว่างร้อยละ 4.40 ถึง 45.30

 

Leading the life according to the Principle of Self-Sufficiency Economy and the Influence on it Happiness of the People Living in Thawiwatthana District Area, Bangkok

The objectives of the study are thru the follow: 1) To investigate the extent to which the people lead this lives in live with the principle of Self-Sufficiency Economy; 2) To determine the lead of the people’s happiness; and 3) To ascertain the influence of leading the life (according to the principle of Self-Sufficiency Economy) on the people’s happiness.

The study is qualification in nature. In other words, survey research is used. 400 people out of the total researcher of 31,242 people living in Thawiwatthana district and Salathammasop sub-district comprisedthe sample for the study. The sample size was determined by Yamane’s formula where as the cluster random sampling technique was used to select the sample. The collected data were analyzed by researching to the stepwise, multiple regression analysis.

As a result of the hypothesis feeling the researcher has found the following facts: the leading of life according to the principle of Self-Sufficiency Economy had great influence on the people’s happiness; 90.10 percent of the variation were explained by all the six factors used in the analysis. Separately considered, 95.90 percent of variation were explained by following factions:1) Moderation, 2) Rationality, 3) Immunity, 4) Knowledge condition, 5) Morality condition; the factions could predict the happiness of the people living in Thawiwatthana district area in the amount of 4.40-45.30 percent

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)