การสำรวจภาวะการมีงานทำและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ธีรวัฒน์ จันทึก

Abstract

การสำรวจภาวะการมีงานทำและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ศิลปากร วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุทางด้านคุณธรรม คุณลักษณะด้านความรู้คุณลักษณะ ด้านทักษะทางปัญญา คุณลักษณะด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบคุณลักษณะ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลต่อผลการพัฒนาบัณฑิต ตามอัตลักษณ์และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตกับข้อมูล เชิงประจักษ์โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิตในระดับปริญญาบัณฑิตและ บัณฑิตศึกษาของคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากรเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น

ผลการศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ปรากฏว่าระดับ ปริญญาบัณฑิต บัณฑิตที่ทำงานแล้วหรือประกอบอาชีพอิสระ มีจำนวน 472 คน คิดเป็นร้อยละ 78.28 และเมื่อพิจารณาตามสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวมีบัณฑิตที่ทำงานแล้วมาก ที่สุด ร้อยละ 83.96 รองลงมา คือ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป ร้อยละ 80.68 และสาขาวิชาการตลาด ร้อยละ 79.37 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า มหาบัณฑิตที่ทำงานแล้วหรือประกอบอาชีพอิสระ หลังจบการศึกษา มีจำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 87.69 และเมื่อพิจารณาตามหลักสูตร พบว่า หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ มีมหาบัณฑิตที่ทำงานแล้ว จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 รองลงมาคือ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและ ภาคเอกชน มีมหาบัณฑิตที่ทำงานแล้ว จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 86.25 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีมหาบัณฑิตที่ทำงานแล้วจำนวน 25 คิดเป็นร้อยละ 92.59

ในขณะที่ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา พบว่า ความ คิดเห็นต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขโดยรวมอยู่มากที่สุด ทั้งนี้ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านความรู้ด้านทักษะทางปัญญา และผลการพัฒนาบัณฑิต ตามอัตลักษณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

A survey study on Employment Situation and Satisfaction of Graduated Users Management Faculty, Silpakorn University

A survey study on employment situation and Satisfaction of Graduated Users Management Faculty, Silpakorn university aimed to study causal factors about moral features, knowledge features, intellectual skills features, interpersonal skills and responsibility features and numerical analysis skills communications and information technology features that affect the development of graduates identity. And examined consistency between satisfaction models of the graduated users with empirical data. The population used in this research was graduate and graduated users in bachelor's degree and master's degree of Management faculty, Silpakorn university. The tool was questionnaire

The result of employment situation of graduate in bachelor's degree and master's degree found that graduate in bachelor's degree that working or self-employed had 472 graduates 78.28%. And when considering in each sector found that Tourism Management had the most Graduate working 83.96%. A minor was General Business 80.68% and Marketing 79.37%. In master's degree found that graduate inmaster's degree that working or self-employed had 171 graduates 87.69. And when considering in curriculum found that MBA curriculum, Entrepreneurs sector had had the most Graduate working, The number was 77 Graduates 87.50%. A minor was Master of Arts curriculum, Management of public and private sector had 69 Graduate working 86.25 and Master of public administration curriculum, Public administration sector had 25 Graduate working 92.59

While satisfaction of graduated users in bachelor's degree and master's degree found that the opinion about moral features, interpersonal skills and responsibility features and numerical analysis skills communications and information technology features were at the highest level. As well as the opinion about knowledge features, intellectual skills features and Silpakorn University graduate’s identity were at the hight level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)