การพัฒนาคู่มือการดำเนินกิจกรรม 7 ส เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ การทำงานเป็นทีมให้กับหน่วยงานในกำกับระดับมหาวิทยาลัย

Main Article Content

วสันต์ พรพุทธพงศ์
ธีระวัฒน์ จันทึก

Abstract

การดำเนินกิจกรรม 7ส เพื่อสร้างศักยภาพการทำงานเป็นทีมให้กับหน่วยงานในกำกับระดับ มหาวิทยาลัยได้ใช้วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลัก และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม (Participatory action research: PAR) เข้ามาใช้เสริมในขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยบางส่วน ในขั้นตอนของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการดำเนินกิจกรรม 7ส ของพื้นที่การศึกษา (Unit of Analysis) โดยประชากร คือ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในกำกับระดับมหาวิทยาลัยโดยทำการ สำรวจ 100% เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบแบบสอบถาม

ผลการศึกษาก่อนดำเนินกิจกรรม พบว่าหน่วยงานประสบปัญหาการเสียเวลาในการทำงานเนื่องจาก การขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สำหรับผลการตรวจประเมินก่อนทำกิจกรรม 7ส พบว่าอุปกรณ์อยู่ใน สภาพไม่พร้อมใช้งาน และในกรณีที่ชำรุดไม่มีป้ายบอกสถานะ ไม่มีการบันทึกการใช้งาน เป็นต้นหลังจาก ที่ได้ดำเนินกิจกรรม 7ส ส่งผลให้เจ้าหน้าที่มีความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรมมากขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์ มีการทำงานเป็นทีม มีการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้งาน ที่ได้รับมอบหมาย และในด้านความน่าอยู่ในที่ทำงาน ทำให้หน่วยงาน มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ทั้งในเรื่องของพื้นที่และเนื้อที่ใช้งานที่มากขึ้น ที่ทำงานดูกว้าง และโล่งขึ้นสะอาดตามากยิ่งขึ้น บุคลากรมีสุขภาพกายและจิตที่ดีมีระเบียบวินัยมากขึ้น และสามารถ ลดการเก็บเอกสารที่ซ้ำซ้อนลง รวมถึงเกิดความภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นผลจากการมีส่วนร่วมในการปรับปรุง ของเจ้าหน้าที่ทุกคน และสำหรับในด้านการให้บริการ พบว่า ผู้รับบริการให้ความเชื่อถือ และมีความมั่นใจ มากยิ่งขึ้น

 

The Development Manual of 7S Operation for Teamwork Potential with Authorities in University

The objectives of 7’s activity were for producing teamwork potential of university sub organization by using main Quantitative Research, and supporting with Participatory action research (PAR). The participate procedure of 7’s activity running of population Unit of Analysis was the staff of Unit of Analysis by all 100% research, and the tool was questionnaire.

The pre-activity running results found that an organization had wasting time for a derangement, the pre-7’s activity indicted that the tools were not readiness to use, and no sign for damage thing. After running the 7’s activity found that the staff had more intend to do activity, creative, teamwork, activity coordination that effected to the organization and gained more their knowledge skills, and organization had more nice location, more efficiency work, also the area had more neatly regulation, clearly, more winder, including to their proud. Because of every staff had improved, for the services found that the users had more confident and trust.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)