การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามมาตรฐาน คุณวุฒิแห่งชาติ ระดับบัณฑิตศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

วิสวัส ทองธีรภาพ

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 86 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistic) เพื่อใช้ทดสอบสมมติฐานประกอบด้วยสถิตที่ใช้ในการทดสอบสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติหลักสูตรการประกอบการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับหลักสูตร การจัดการ ภาครัฐและเอกชน และหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์ทั้งนี้จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า หลักสูตร การประกอบการด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมี ความสัมพันธ์กับอัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากรมากที่สุด ในขณะที่หลักสูตร การจัดการ ภาครัฐและเอกชนด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กับ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดตลอดจนหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์พบว่าความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้จ้างงานที่มีต่อบัณฑิตตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติไม่มีความสัมพันธ์กัน สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยผู้ประกอบการ มีข้อเสนอแนะว่าควรปลูกฝังให้บัณฑิตมีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ตระหนักในอาชีพที่ปฏิบัติอย่าง ตั้งใจ มีความรับผิดชอบ รักในสิ่งที่ทำ และพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพนั้นๆ มีความเคารพในจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเอง รวมถึงต้องมีคุณธรรม จริยธรรมในหัวใจในการดำเนินงาน อีกทั้งต้องมีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

A Survey Satisfaction of Users Graduate Due to TQF Management Faculty, Silpakorn University

This study was a quantitative research using questionnaires as tools to collect data. The sampling group in this study included 86 users in graduate school. The information was analyzed by percentage, weighted mean score, standard deviation, and inferential statistic and used to test hypothesis which composed of Pearson's Correlation statistical testing. The result shown that the quality of overall graduates, following Thai Qualifications Framework for Higher Education(TQF:HEd), in entrepreneurship management program was in high level. Also graduate students from public and private management program and public administration program resulted in the same way. Furthermore, the hypothesis testing found that numerical analysis, communication and information technology skills in entrepreneurship management program had the highest relation with Silpakorn University graduate’s identity. Also in public and private management program, interpersonal skills and responsibility had highest relation with numerical analysis, communication and information technology skills. Moreover, in public administration program, satisfaction of commander/employer in graduate students following Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF:HEd) shown no relation to each other. Lastly the suggestion from employer research advised that the programs should educate the students more about responsibility on their duties, realization in intention of their jobs, love in what they do, self-development on knowledge and skills in their job field, respect in ethics of their profession, virtue and morality in their works, and honesty in their profession as well as social responsibility.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)