การคัดเลือกข้อความของตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ SMAARTS สำหรับใช้ประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงาน ของสหกรณ์ออมทรัพย์: การพัฒนาและคัดเลือกด้วย วิธีการเดลฟายฟัซซี
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือการพัฒนาและคัดเลือกข้อความของตัวชี้วัด SMAARTS ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเชิงคุณภาพสำหรับใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเดลฟายฟัซซีจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับ ในแวดวงการสหกรณ์ของประเทศไทย 2) ข้าราชการของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3) คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการสอนในรายวิชา ด้านการสหกรณ์หรือในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์หรือเป็นผู้บริหารกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ ในสถาบันอุดมศึกษาและ 4) ฝ่ายจัดการของสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวน 24 ท่าน โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 6 ท่าน สำหรับตัวชี้วัด SMAARTS ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ โครงสร้างการบริหาร (Structure) การจัดการ (Management) ระเบียบปฏิบัติ (Agreement) สินทรัพย์ (Asset) ความเสี่ยง (Risk) ความเชื่อมั่นของ สมาชิก (Trust) และความพอเพียง (Sufficiency) ผลการวิจัยพบว่าสามารถคัดเลือกข้อความตามแต่ละตัว ชี้วัดได้อย่างละ 4 ข้อความ โดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นไทล์ที่ 60 ในการคำนวณดัชนีการคัดเลือกแนวทาง ดังกล่าวช่วยลดความคลุมเครือในการตัดสินใจของผู้ให้ข้อมูลหลักสำหรับการคัดเลือกข้อความในแต่ละตัว เพื่อนำไปใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานเชิงคุณภาพของสหกรณ์ออมทรัพย์ในขั้นตอนต่อไป
A Select Items of SMAARTS Qualitative Indicators for the Evaluation of Savings Cooperative Operation Efficiency: Development and Selection with Fuzzy Delphi Method
Research objectives of this article were to develop and select items of SMAARTS, which was a qualitative indicators applied in the evaluation of savings cooperative operation efficiency with Fuzzy Delphi methodology from 4 groups of key informants: 1) Famous experts in a society of cooperative in Thailand, 2) government officers from both Cooperative Auditing Department and CooperativePromotion Department in Ministry of Agriculture and Cooperatives, 3) instructors from an institution of education who were experienced in cooperative course teaching, or conducting research related to cooperative, or savings cooperative executive in an institution of education, and 4) savings cooperative managers. There were 6 key informants for each group, and totally 24. For the SMAARTS indicators, it included 7 fields: Structure, Management, Agreement, Asset, Risk, Trust, and Sufficiency. The research results showed that it could select 4 items from each indicator by using 60th percentiles rank to calculate selection index. This approach could reduced decision ambiguity of the key informants for selecting items in each indicatorArticle Details
Section
บทความวิจัย (research article)