ความคิดเห็นที่มีต่อการขยายอายุการรับประโยชน์ ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปี เป็น 60 ปี ของผู้ประกันตน : กรณีศึกษาผู้ประกันตนที่มาติดต่องานกับสำนักงานประกันสังคม จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์

Abstract

การศึกษาเรื่องความคิดเห็นที่มีต่อการขยายอายุการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปี เป็น 60 ปีของผู้ประกันตน : กรณีศึกษาผู้ประกันตนที่มาติดต่องานกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัด ปทุมธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และความคิดเห็นของผู้ประกันตนที่มีต่อการประกันสังคม กรณีชราภาพ การขยายอายุการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนกรณีชราภาพ และแนวทางในการ ขยายอายุการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปีเป็น 60 ปีของผู้ประกันตน เป็นการศึกษา เชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนามโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ประกันตนที่มาติดต่องานกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์(Chi-Square) ค่าสถิติที(t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หรือค่าสถิติเอฟ (F-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สรุปได้ดังนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี สมรสแล้ว สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ปริญญาตรีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001-14,000 บาท มีระยะเวลาการเป็นผู้ประกันตนมาแล้ว 1-5 ปี ส่วนใหญ่ทำงานในสำนักงาน กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการประกันสังคมกรณีชราภาพ ในภาพรวม อยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นความรู้ด้านการจ่ายเงินสมทบ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ ทราบว่าจะมีสิทธิรับบำนาญเมื่อจ่ายเงินสมทบติดต่อกันเป็นเวลา 180 เดือนขึ้นไป แสดงว่าผู้ประกันตน จะมีความรู้เมื่อเขาต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างยังมีความเห็นที่มีต่อแนวทางการขยายอายุการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปีเป็น 60 ปีโดยเห็นว่า

การรักษาพยาบาลในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนมีอายุยืนกว่าอดีตและนายจ้างควรจะกำหนด อายุเกษียณอายุให้สอดคล้องกับระบบประกันสังคมซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง เห็นด้วยกับการขยายอายุการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปีเป็น 60 ปีและกลุ่มตัวอย่างยัง เห็นด้วยว่าการขยายอายุเกษียณให้มากกว่า 55 ปีเหมาะสมกว่าการเก็บเงินสมทบเพิ่ม เนื่องจากไม่ได้เพิ่ม ภาระแก่ผู้ประกันตน

ข้อเสนอแนะในการศึกษา สำนักงานประกันสังคมควรจะประชาสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่น่า สนใจ และควรจะทำประชาพิจารณ์ก่อนการขยายอายุการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก55 ปีเป็น 60 ปีหลังจากได้ดำเนินการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ไปแล้วระยะหนึ่ง และขอความร่วมมือจาก นายจ้างในการกำหนดอายุเกษียณของลูกจ้างตามอายุการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพของกองทุน ประกันสังคม

 

Opinions of the Insured Persons towards Extending the Retirement Age for Old Age Pension Benefits from 55 to 60 Years : Case Study of the Insured Persons Contacting the Social Security Office, Pathumthani Province.

The objectives of the study on “opinions of the insured persons towards extending the retirement age for old age pension benefits from 55 to 60 years : case study of the insured persons contacting the Social Security Office, Pathumthani Province” are to study knowledge and opinions of the insured persons towards the old age social security, extending the retirement age for old age pension benefits and the guidelines for extending the retirement age for old age pension benefits from 55 to 60 years. This study is survey research. The data is collected from documents and field works. The samples were 400 insured persons who contacting the Social Security Office, Pathumthani Province. Statistical techniques used in data analysis are percentage, average, Chi-Square, t-test, F-test and the significant level was 0.05 conclude like this,

Most of the samples are female, age 26-30 years, married with bachelor degree and monthly salary is 10,001-14,000 baht. The duration of being insured persons is 1-5 years. Most of them work in the office. They have the knowledge about old age social security by overall at low level, except the knowledge about contribution. The interesting issue is the most of insured persons know that they will receive old age pension when they pay contributions more than 180 months continually. It’s mend insured persons know that they must take responsibilities to pay contributions to social security fund. In addition to, the samples show the opinions towards extending the retirement age for old age pension benefits from 55 to 60 years that the medical care in the present take a part in making people have a long live more than in the past and the employer shoud identify the retirement age according to social security system that means the samples agree with towards extending the retirement age for old age pension benefits from 55 to 60 years and the samples also agree that the extending retirement age over 55 years is more appropriate than more payment contribution because it’s most increase the burden of insured persons.

The suggestion in this study is that the Social Security Office should make public relations in new interesting forms and should make public hearing before extending the retirement age for old age pension benefits from 55 to 60 years so after giving knowledge and make public relations for a period of time and request cooperation from employers to define the retirement age according to the retirement age for old age pension benefits.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)