กลยุทธ์ผลักดันธุรกิจในส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยลดความเครียดและสร้างความพึงพอใจในการทำงาน ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

Main Article Content

รักเกียรติ จาริก
นภัทร จันทรารมย์

Abstract

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการพัฒนาทรัพย์ยากรมนุษย์ที่มีผลต่อ ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบนเครื่องบินโดยสาร (2) เพื่อค้นหาวิธีการจัดการหรือลด ความเครียดและสร้างความพึงพอใจภายใต้บริบทกลยุทธ์ผลักดันธุรกิจในส่วนการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์และ (3) เพื่อสร้างกลยุทธ์ผลักดันธุรกิจในส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานต้อนรับ บนเครื่องบินโดยสาร

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบเส้นทาง จากผู้จัดการการบริการบนเครื่องบิน ผู้ควบคุมการบริการบนเครื่องบิน พนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบิน และพนักงานต้อนรับชาย/ผู้ให้บริการบนเครื่องบินจำนวน 400 ตัวอย่าง ประกอบกับการสัมภาษณ์ เจาะลึก ผู้จัดการการบริการบนเครื่องบิน หัวหน้างานและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอื่น ๆ อีกจำนวน 10 ราย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยวิธีคำนวณหา IOC และทดสอบความน่าเชื่อถือด้วยการหาค่าสหสัมพันธ์ด้วยวิธีของ ครอนบัช (Cronbach)

ผลการวิเคราะห์พบว่า ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินโดยสาร จาก อิทธิพลรวม (Total Effect) จะพบว่าเกิดจาก กลยุทธ์ผลักดันธุรกิจด้านระบบ (β = 0.26) กลยุทธ์ผลักดัน ธุรกิจด้านกระบวนการ (β = 0.23) และกลยุทธ์ผลักดันธุรกิจด้านความรู้ (β = 0.17) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติตามลำดับ

 

Driven Business Strategies on Human Resources Development by Stress Reduction and Creating Flight Attendants’ Satisfaction

The dissertation aims (1) To analyze the influence of the development of human resource property affecting the job satisfaction of the flight attendants, (2) To find ways how to manage or reduce stress and create satisfaction under the context of business strategy to push in the human resources development and, (3) To create business strategy push in the human resources development of the flight attendants.

In this research is mixed method by using the quantitative analysis model of cabin crews, In-flight Manager (I/M), Air Purser (A/P), Air Hostess (A/H), Air Steward (A/S) of 400 samplings along with in-depth interview senior manager service and chief attendant and other of 10 cases. Research tools are a questionnaire through monitoring the content validity by experts with the method to calculate the IOC and test reliability by using the correlation method of Cronbach.

The result showed that Job satisfaction of flight attendants total effect are found to arise from strategy push business system (β = 0.26), strategy push business process (β = 0.23), strategy drive business knowledge (β = 0.17) were significantly respectively

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)