การพัฒนาธุรกิจสปาไทยสู่ความยั่งยืน : วิธีการทางจิตวิทยาบริการ

Main Article Content

ยศวดี แขวัฒนะ
เสาวนีย์ สมันตรีพร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ปัจจัยทางจิตวิทยาการบริการ 5 ด้าน ประกอบด้วย ผู้รับบริการ (Customers) ผู้ให้บริการ (Service Providers) องค์การธุรกิจบริการ (Service Organization) ผลิตภัณฑ์บริการ (Service Products) สภาพแวดล้อมในการบริการ (ServiceEnvironments) กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหรือลูกค้า 2) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ สปาในประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาธุรกิจสปาอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับจิตวิทยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยศึกษาจากแบบสอบถาม (Questionaire) ที่ได้จากลูกค้าจำนวน 400 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยใช้ เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ที่เลือกตัวอย่างแบบจงใจ (Purposive Sampling) จำนวน 14 ราย ประกอบด้วยเจ้าของและผู้บริหารธุรกิจสปา

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสรุปได้ว่า ลูกค้ามีระดับความคิดเห็นในภาพรวมด้านผู้ให้บริการ ด้านความพึงพอใจของลูกค้า และด้านผู้รับบริการ อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.340,4.310 และ4.199 ตามลำดับ ส่วนระดับความคิดเห็นของลูกค้าในภาพรวมด้านองค์การธุรกิจบริการ ด้านสภาพแวดล้อมการบริการ และด้านผลิตภัณฑ์บริการ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.199,4.192 และ3.753 ตามลำดับ และมีการยอมรับสมมุติฐานทางการวิจัยทุกข้อ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจสปา ประกอบด้วย ความยุ่งยากในการจัดการ การควบคุมคุณภาพการบริการ การใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง การ หาทำเลที่ตั้งที่ดีและเหมาะสม ความยากในการสร้างชื่อเสียง การขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้เฉพาะทาง ความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม คุณสมบัติที่เหมาะสมของ ผู้ประกอบการ

ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการจึงมีแนวทางในการพัฒนาธุรกิจสปาสู่ความยั่งยืนโดยมุ่งเน้นไปที่ปัจจัย ทางด้านจิตวิทยาบริการทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วยความพร้อมของบุคลากร (ด้านผู้ให้บริการ) การพัฒนา องค์ความรู้และทักษะของผู้ประกอบการเพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน (ด้านองค์การธุรกิจบริการ) ทำเลที่ตั้งที่ดีสะดวกและเหมาะสมรวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการบริการให้ตรง กับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป (ด้านสภาพแวดล้อมการบริการ) สินค้าและบริการที่มี คุณภาพดี (ด้านผลิตภัณฑ์บริการ) รวมถึงการศึกษาความต้องการของผู้รับบริการและการวางแผนกิจกรรม การตลาดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย (ด้านผู้รับบริการ)

 

Thai Spa Development toward Sustainability Service Psychology Method

The objective of this study aims to examine the relationship level of five psychological service factors namely Customers, Service Providers, Service Organization, Service Products and Service Environments with customer’s satisfaction as the result will be used to develop and improve the course of carrying out the Spa business toward sustainability. The findings were taken from a sample group of 400 people using Qualitative Research from questionnaires and Qualitative Research utilizing Delphi Technique with 14 Purposive Samplings. The Key Informants comprise of Spa business owners and executives.

The result from analyzing the information from customers’ opinions concludeed that the factors of overall Service Provider, Customer Satisfaction, and Customers range ‘Most Agreed’ at the average score of 4.340, 4.310 and 4.199 respectively. The customers’ opinions on Service Environment and Product Service range ‘Agreed’ at the average score of 4.199, 4.192, and 3.753 respectively and accept all research hypothesis.

The Qualitative Research found that the problems and obstacles of conducting spa business comprises of management complication, service quality control, high investment capital, location, the difficulty in building reputation, lack of skilled labor, consumer preference that alter with the changing environment, proper quality of the entrepreneurs. Therefore, entrepreneurs aim to accomplish sustainable development in spa business through five psychological factors namely Personnel (Service Providers), Service organization development emphasizing on development of knowledge and skills of the entrepreneurs (Service Organization), Proper location for the business adjusting to the environment and customer’s preferences (Service Environments), Good quality product and service (Service Products), and Analyze customer’s preferences and perform marketing activities to attract target customers (Customer).

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)