องค์ประกอบความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดภาคใต้

Main Article Content

สุมณฑา ไกรนรา
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความสำเร็จของการบริหารโรงเรียน เอกชนในจังหวัดภาคใต้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ตอนบน กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่มีความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยใช้ สูตรยามาเน่ (Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ทั้งสิ้น 108 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการบริหาร สถานศึกษาโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนละ 3 คนรวมผู้ให้ข้อมูล ทั้งสิ้น 324 คน ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 53 ตัวแปร ดังนี้ 1) คุณภาพผู้เรียน 2) คุณภาพการให้บริการ 3) ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ 4) ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการ มีค่าสถิติ Chi-Square เท่ากับ 3351.005 (p<.01) แสดงว่า เมตริกซ์สหสัมพันธ์นี้แตกต่างจาก เมตริกซ์เอกลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สอดคล้องกับค่า KMO ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.598 แสดงถึงความเหมาะสมเพียงพอของข้อมูล สามารถใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบได้ในระดับ ดีมาก และจากค่าไอเกนขององค์ประกอบที่มากกว่า 1.00 โดยมีความแปรปรวนสะสมเท่ากับร้อยละ 41.833

 

Success Factors in Private School Administration in Southern Provinces

The objectives of this study were to analyze success factors in private school administration in southern provinces. The samples in the study in cluded 108 private schools with a confidence of 95 percent using the formula of Yamane. The key informants were composed of directors teachers and school committees in each school. The total of key informants were324respondents.

The research findings were found that success in private school administration in southern provinces consisted of 4 factors composed of 53 variables. They were 1) the quality of learners 2) the quality of services 3) administrative efficiency 4) administrators competency. The statistical analysis was Chi-Square which indicated 3351.005 (p <.01), indicating that this was different from the correlation matrix. Identity matrix statistically significant at the 0.01 level congruence with KMO value which is equal to 0.598, which indicates a lack of appropriate data. It can be used to analyze these factors in very good level and the eigenvalues of greater than 1.00, with components cumulative variance of 41.833 percent.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)