การมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

กมลพร กัลยาณมิตร

Abstract

บทคัดย่อ                                            

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลเมือง จำนวน 110,703 คน (ที่มา: กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย, 2557)  และกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลเมือง และมาติดต่อราชการ ณ เทศบาลเมืองจังหวัดมุกดาหาร ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – วันที่ 31 พฤษภาคม 2558  ใช้วิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน่  ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 340 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 340 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำแบบสอบถามมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability)  ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยพหุคูณ  

            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร มี 5 ปัจจัย เรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การเชิญชวนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการวางแผนงานพัฒนาท้องถิ่น 2) การเชิญชวนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น   3) การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น 4) การเชิญชวนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดแผนการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น และ 5) การเชิญชวนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมุกดาหาร เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ เทศบาลควรจัดให้มีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง เทศบาลควรนำความคิดเห็นที่ประชาชนเสนอไว้และนำไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

 

Abstract

The objective of this study were 1) to determine factors affecting the participation in local development preparaion to ASEAN Community in Mueang municipality, Mukdahan province 2) the level of the participation in local development preparaion to ASEAN Community in Mueang municipality, Mukdahan province.  This study was a quantitative research. The sample group was 340 people in Mueang municipality, Mukdaharn province. The data collecting instrument was a questionnaire. Statistical data analyses were frequency, percentage, mean, standard deviation, multiple regression.

The results of this study found that there were five factors affecting the participation in local development preparaion to ASEAN Community in Mueang municipality, Mukdahan province at statistically significant level of 0.05 with correlation at the high level as follows: 1) to invite people to participate in local development planning  2) to invite people to participate in local development operation  3) to advertise people to know and understand the local development 4) to invite people to participate in making decision in local development planning 5) to invite people to participate in follow up and evaluate local development performance. Also, the holistic results of this study found that  the participation in local development preparaion to ASEAN Community in Mueang municipality,  Mukdahan province at the high level. The respondents had additional suggestions about  the participate in local development preparation with frequency from high to low respectively, as follows : 1) the respondents had suggestions about the participate in local development in municipality area with frequency from high to low respectively as follows:  1) the municipality should arrange a join meeting at least once a month 2) the municipality should bring people’s suggestions to use in local development planning.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)