พฤติกรรมด้านสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุน และช่วยวิชาการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ จำแนกตามปัจจัยด้านบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมด้านสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ โดยตัวอย่างในครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์พฤติกรรมด้านสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 6 ด้าน ในภาพรวมของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมด้านสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อบรรยากาศองค์การของหน่วยงาน 5 ด้าน ในภาพรวมของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มีความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การ อยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมด้านสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการกับบรรยากาศองค์การพบว่า บรรยากาศองค์การด้านโครงสร้างองค์การมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับปานกลาง
Abstract
This study aimed 1) to examine behaviors of senses of responsibilities among supporting staff and academic assistants on Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, 2) to compare the behaviors of senses of responsibilities according to personal factors and 3) to determine the relationship between organization climate and the behaviors of senses of responsibilities. The study sample consisted of 354supporting staff and academic assistants on Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus. The instrument was a questionnaire and the data were analyzed in terms of percent, average mean and standard deviation. Then, difference between two average means was tested; one-way ANOVA was done and Pearson’s correlation coefficient was determined. The level of statistical significance 0.05.
The results revealed that as for the overall 6 dimensions of the behaviors of senses of responsibilities, the supporting staff and academic assistants on Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus viewed at the high level; as for the overall 5 dimensions of organization climate, they also viewed at the high level and as for the relationships between organization climate and the behaviors of senses of responsibilities were in the same direction at the moderate level.