การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บแบบผสมผสาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานพร้อมทั้งการออกแบบและทำรูปแบบการเรียนการสอนเชิงอิเล็กทรอนิกส์ และทำการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและเนื้อหาการเรียนเชิงอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ต้องการให้ระบบที่จัดทำขึ้นสามารถช่วยการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นในการออกแบบและพัฒนาระบบได้ใช้หลักการวัฏจักรชีวิตการพัฒนาระบบตามแนวทางของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และได้ทำการวิเคราะห์ระบบตามแผนภาพบริบท และแผนภาพกระแสข้อมูล สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้นคือ ภาษา HTML, Active Server Page และโปรแกรม Access วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าพารามิเตอร์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าฐานนิยม และใช้อนุมานสถิติด้วยค่า t-test สำหรับรูปแบบของระบบที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้น ประกอบด้วยบทเรียนในรูปของเอกสารคำสอน สื่อรูปภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว มีระบบการบริการเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสอนเสริมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสร้างโครงการสอนและระบบการประเมินผลออนไลน์
การออกแบบรูปแบบการเรียนและเนื้อหา โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทำการประเมินความเหมาะสมและผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากที่สุด สำหรับด้านเนื้อหาและโปรแกรมนั้น ได้นำไปทดลองใช้กับกลุ่มนักศึกษาจำนวน 100 คน พบว่าทัศนคติและความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนเชิงอิเล็กทรอนิกส์มีผลอยู่ในระดับที่มาก ระบบดังกล่าวได้ถูกประเมินโดยอาจารย์จากหลายคณะในมหาวิทยาลัย และผลการประเมินด้านทัศนคติและความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บแบบผสมผสานเชิงอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับที่มาก
ผลที่ได้จากการวิจัยคือได้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ใช้สามารถเข้าใจระบบและเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งระบบได้ช่วยให้อาจารย์สามารถสอนนักศึกษาให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้นและ นักศึกษาสามารถเตรียมตัวก่อนเรียนและทบทวนวิชาได้ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และเป็นการใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยได้อย่างคุ้มค่าและประหยัด
Abstract
The research objectives are study, analyze, Development Web-based instruction of Blended Leaning Model for Virtual University. The proposed model is developed for instructors and students in order to teach and learn more effectively.
The design and system development are based on software engineering concept which applied by the system development life cycle (SDLC) and its techniques such as Context Diagram and Dataflow Diagram (DFD). There are tools for the system design, for example, HTML, Active Service Pages (ASP) and Microsoft Access. In addition, data analysis is used t-test. The statistical parameters are Mean, Standard Deviation, and Mode. This model consists of content in form of e-text with graphics, audio, video, and multimedia. The main features of Blended-learning model are e-tutoring, e-advisor-template and
e-evaluation. There are e-Learning experts who work as evaluation committee in E-Learning content and Model. They found that the appropriated evaluation level was very high. The attitude and opinion of 100 students who used the content and program were in high level. It was also evaluated by instructors at Sripatum University and result was in high level.
Its result is the E-Learning Model with completely proof by the users at Sripatum University. The instructors can apply their teaching more effectively on this model. Students can prepare and review content before their classes. They can study anywhere and anytime at their convenience. This style of learning is a fully student-center approach.