การศึกษาสภาพการบริหารจัดการวงซิมโฟนิคแห่งมหาวิทยาลัยบูรพา A Study of Symphonic Band Manage of Burapha University

Main Article Content

ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการวงซิมโฟนิค แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ตามหลัก PDCA ในขอบเขตการวิจัย ด้านการบริหารจัดการการซ้อม และ ด้านการจัดการบุคลากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ อาจารย์และนิสิต คณะดนตรีและการแสดง สาขาวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาวิเคราะห์

          ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการวงซิมโฟนิคแห่งมหาวิทยาลัยบูรพาตามหลัก  PDCA  ในภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการปฏิบัติตามแผนด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงาน และด้านการปรับปรุงให้เหมาะสมตามผลการประเมิน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ด้านการวางแผน วงซิมโฟนิคมีการกำหนดกฎระเบียบในการซ้อมและมีการวางแผนในการจัดเวลาการซ้อมที่ชัดเจนรวมทั้งมีแผนกิจกรรมของวงซิมโฟนิคที่คำนึงถึงการพัฒนา         2) ด้านการปฏิบัติตามแผนหัวหน้าวงมีการกระจายงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือในระบบแผนงานและมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตน 3) ด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงานวงซิมโฟนิคมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาโดยมีการประชุมอภิปรายสรุปผลการซ้อมและบันทึกประเมินผลไว้เป็นหลักฐาน 4) ด้านการปรับปรุงให้เหมาะสมตามผลการประเมินบุคลากรให้ความร่วมมือช่วยเหลือกันในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขโดยนำข้อบกพร่องมาแก้ไขเพื่อพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคมรวมทั้งการบริหารจัดการวงซิมโฟนิคอย่างต่อเนื่อง

 

ABSTRACT

           The purpose of this research was to study the PDCA-based management of symphonic band of Burapha University in the aspects of rehearsal and staff. The population included a total of sixty-three teachers and students from the Faculty of Music and Performing Arts, majoring in Western Music. Data were collected using questionnaire and interview protocol, and were statistically analyzed in percentage, mean, standard deviation, and were descriptively analyzed.

          The findings revealed that the PDCA-based management of symphonic band of Burapha University was generally found at the high level. After item analysis, planning was rated at the highest mean followed by doing, checking, and acting after the assessment results. The further details were as follows. 1) Planning – rehearsal regulations were launched as well as clear rehearsal schedule and development-oriented activity planning 2) Doing – systematic assignments by the band head for members’ good understanding, cooperation, and responsibility were found. 3) Checking – there was an assessment of the performance for development through meeting for rehearsal summary, Including recording the assessment results and 4) Acting – cooperation from the band members was rendered for development and improvement from the detected drawbacks for harmonious co-working environment and successive management of the symphonic band.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)