กิจกรรมเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์ An Activities for Readiness to be the Creative Entrepreneur

Main Article Content

กรปภา เจริญชันษา
พูลเกียรติ มงคลสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนากิจกรรมเตรียมความพร้อมในตการเป็นผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นการวิจัยผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ โดย ระยะที่ 1 ศึกษาลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ และกิจกรรมเตรียมความพร้อม  ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวนต 24 คน แลเอกสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 เล่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์องค์ประกอบ และแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ระยะที่ 2 พัฒนากิจกรรมเตรียมความพร้อม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการจัยได้แก่ กิจกรรมเตรียมความพร้อมและแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  ระยะที่ 3 ตรวจสอบกิจกรรมเตรียมความพร้อมที่พัฒนาขึ้นมา  ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมการนำกิจกรรมเตรียม ความพร้อมไปปฏิบัติ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่า มัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย 5 ลักษณะ คือ การเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การให้ความสำคัญกับความคิด ความสนุกสนาน ร่าเริง  ความทะเยอทะยาน และการไม่หยุดนิ่ง   2) กิจกรรมเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีทั้งสิ้น 10 กิจกรรม  กิจกรรมที่เหมาะสมกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีจำนวน 1 กิจกรรม ได้แก่ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ  ชั้นปีที่ 2 มี 3 กิจกรรม ได้แก่ การคิดแบบสร้างสรรค์ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ และกิจกรรมเปิดโลกทรรศ์ให้กว้างไกล  ชั้นปีที่ 3 มี 8 กิจกรรม ได้แก่ การฝึกอบรมประกอบอาชีพอิสระ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ การแนะแนวด้านอาชีพ การฝึกงานระยะสั้น โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถานประกอบการ โครงการพี่พบน้อง กิจกรรมค่ายพัฒนาอาชีพ และ การสอนโดยใช้กรณีศึกษา ชั้นปีที่ 4 มี 3 กิจกรรม ได้แก่ การฝึกอบรมประกอบอาชีพอิสระ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ และการแนะแนวด้านอาชีพ  3) กิจกรรมการเตรียมความพร้อมที่พัฒนาขึ้นมานี้มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมากถึงมากที่สุด

 

ABSTRACT

This research aimed to develop the entrepreneur creativity preparation activities for university students, This research was a mixed methodology; quantitative and qualitative research which divided into 3 stages. Firstly,  it studied the characteristics of the entrepreneurial creativity and the preparation activities, where the data informants were 24 experts, 60 relevant books, and the instruments that comprised of the component analysis form, the interview form, and the data content analysis.  Secondly, the research developed the entrepreneurial creativity preparing activities from the 8 experts, upon which the instruments were the drafted preparation activities, the questionnaire and the data content analysis by medians and  interquartile ranges. Thirdly,  the research examined the preparation activities from the 15 expert informants, to which the instruments were the activity properness assessment form and the data analysis by medians and interquartile ranges.

The research found three interesting issues. 1) The entrepreneurial creativity consisted of 5 characters, namely, endless learning, thinking significance, enjoyment, high ambitions and ceaseless pacing. 2) The entrepreneurial creativity preparation activities were of 10 in number. Based on the viewpoints of the informants and as classified by study semester and years, there were one activity for the 1st year students, which was the special academic lecture, three activities for the 2nd year students, which were creative thinking, the special academic lecture and the vision opening activities,  eight activities for the 3rd year students, which were the independent -job training, the special academic lecture, career counseling, short practicum, the student exchange with enterprises, the senior-meeting-with-juniors project, the career development camps and the learning through case-studies, and three activities for the 4th year students, which were the independent-job  training, the special academic lecture, and career counseling. 3)  The assessment over the preparation activities showed their high to highest use feasibility. 

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)