อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน Legal Authority Function And Role of Relevant Organization in Promoting Manufactures And
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ปัญหาความต้องการใช้พลังงานที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ทำให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พ.พ.)ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ต้องมีมาตรการในการสนับสนุนปริมาณการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้การใช้พลังงานภายในประเทศเป็นไปอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อกำหนดขอบเขตการดำเนินงานของหน่วยงานในการส่งเสริม วิธีวิจัยดำเนินการด้วยการศึกษาหลักเกณฑ์และบทบัญญัติของกฎหมาย รวมถึงการรับฟังความต้องการจากการประชุมสัมมนาผู้ประกอบการใน 5 ภูมิภาค และในกรุงเทพมหานคร และการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำมากำหนดมาตรการในการส่งเสริม ดังนี้
คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสามารถใช้อำนาจตามมาตรา 28(1)-(3) ของพ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ศ.2550) ในการเสนอจัดตั้งศูนย์ประสานงานส่งเสริมองค์ความรู้และการลงทุนเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงฯ และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อให้ศูนย์ประสานงานฯดังกล่าว เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และทำการส่งเสริมองค์ความรู้และการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ให้คำแนะนำทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปรับปรุงการผลิตและเพิ่มค่าประสิทธิภาพพลังงานให้กับผู้ประกอบการ และการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง และให้คำแนะนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้เงินกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
คณะกรรมการฉลากของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจในการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการส่งเสริมค่าประสิทธิภาพพลังงานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมฉลาก และต้องกำหนดค่ามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน หรือค่าการประหยัดพลังงานไว้ในฉลากหรือเอกสารกำกับ ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของ มาตรา 30 และ มาตรา 31(3) ของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ศ.2541)ตามลำดับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการออกกฎหมายเพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรกับผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการที่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง เช่น การให้สิทธิลดหย่อนภาษี หรือให้สิทธิหักค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการนำเสนอการให้สิทธิยกเว้นภาษีศุลกากรจากการนำเข้าชิ้นส่วนสำคัญเพื่อประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูง
ABSTRACT
Rapid rise in energy demand urges Department of Alternative Energy Development and Efficiency (DEDE), Ministry of Energy to develop a strategic plan for efficiently using and maximum saving of energy. One possible measure is to promote the use of high efficient machine and energy-saving materials. However, such measure requires collaborations of multiple organizations. This research aimed to study legal authority and role of organizations which support manufacturers and distributors of high efficient industrial machine and energy-saving materials, and define the scope of work for such organizations. Research methods included studies of legal principles and law statements, public hearings from entrepreneurs in five regions and Bangkok, and meetings with relevant organizations. The obtained information was analyzed and the following strategies were proposed.
Department of Alternative Energy Development and Efficiency committee has an authority as described in section 28(1)-(3) of Energy Conservation Promotion Act B.E. 2535 (1992), as amended by act (No.2), B.E. 2550 (2007). The committee can propose to National Energy Policy Committee (NEPC) to set up a collaborating center, which provides support for knowledge and investment of high-efficient products and energy-saving materials. The collaborating center will connect with manufacturers and distributors of high-efficient products and energy-saving materials, and support knowledge and complete investment to entrepreneurs. Furthermore, the center will promote research and development of novel technologies, provide technical and innovative advices to improve production and increase energy efficient value, publicize products with energy-saving label and provide advices regarding relevant benefits on tax and investment. These tasks must follow the purposes of fund spending described in section 25 of the Act.
Label committee, Office of the Consumer Protection Board has an authority to define energy-efficient products as label-controlled products. As specified in section 30 and 31(3) of Consumer Protection Act, B.E 2522 (1979), as amended by act (No.2), B.E. 2541 (1998), the products must show standard values of energy efficiency or energy saving on their labels or product documentation.
Minister of Energy can propose the cabinet to issue a law which provide tax benefits to consumers or entrepreneurs who buy products with energy-saving labels. For examples, increasing tax allowance and deduction, exempting custom tax for import of parts for manufacturing high efficient products.