การบริหารงานสถานศึกษาระดับปฐมวัยเอกชนที่มีประสิทธิผลใน จังหวัดกาญจนบุรี An Administrative for An Effective Early Childhood Private School in Kanchanaburi Province

Main Article Content

นิตยา ศรีมกุฎพันธุ์
ขนิษฐา ศรีตะวัน

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานของสถานศึกษาเอกชน ระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในจังหวัดกาญจนบุรีและเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานของ สถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในจังหวัดกาญจนบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสม ระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Mixed Method) มีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย 1)การศึกษาข้อมูลการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล 2) การยกร่างรูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล  3)การตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล และ4)การประเมินรูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล  กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหาร สถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และ ผู้ปกครองนักเรียน จากสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย ที่มีประสิทธิผล จำนวน 3 แห่ง ที่เลือกมาแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์ สถานศึกษาที่มีผลการประเมิน คุณภาพสถานศึกษาจากการประเมินของสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ .) รอบสาม ในระดับดีมาก ปีการศึกษา 2556 เป็นสถานศึกษายอดนิยมส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารของสถานศึกษาเอกชน ระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลคือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่เลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 10 คน เป็นผู้บริหาร จากสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบร่างรูปแบบสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย และแบบประเมิน รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับ ปฐมวัยที่มีประสิทธิผลการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการในช่วงปีการศึกษา 2559 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

 1.รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้าที่มีองค์ประกอบย่อยคือ สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาการตอบสนองความต้องการ ของชุมชนและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน นโยบายของรัฐบาล นโยบายของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้เรียน ผู้บริหารและครู จรรยาบรรณวิชาชีพของครู จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหาร และ งบประมาณ สำหรับปัจจัยด้านกระบวนการนั้นประกอบด้วยการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียน การสอน และการวัดและประเมินผลด้านผลผลิต คือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และความพึงพอใจ ของผู้ปกครองนักเรียน

2.จากการประเมินรูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในจังหวัดกาญจนบุรีพบว่ารูปแบบนี้มีประโยชน์มีความสอดคล้องและความเป็นไปได้ส่วนความ เหมาะสม จำเป็นต้อง

พัฒนาจากขนาดของสถานศึกษารวมทั้งสถานศึกษาจะต้องแสดงความเป็น เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ในการบริหารจัดการให้ชัดเจนด้วย

 

ABSTRACT

The objectives of this research were to study and develop an effective administrative model for early childhood private schools in Kanchanaburi Province. A mixed methods research was used by interviewing , questionnaire , focus group and connoisseurship. Interviewer comprise administrators and questionnaire for teacher / staff and parents in 3 early childhood private schools at Kanchanaburi Province , focus group by educational experts and connoisseurship by administrators , teachers and school boarders as purposive samples. The 4 steps were as follow : collecting data by interviewing administrators and questionnaire for teachers / staff and parent , to draft the model by using system theory and qualitative assurance as a framework , to examine the model by focus group from educational experts , and to evaluate the model by connoisseurship comprise from administrators ,teachers and school boarders.

The results of the study were as follows :

1. The effective administrative model comprised  three main components, were input, process and output. The input elements consisted of school environment , the response of IV community needs and learning sources , government policy , school board policy , students , administrators / teachers professional etiquette of teachers , professional etiquette of administrators and budgeting. The process elements consisted of curriculum management , learning, teaching, measurement and evaluation. The output elements consisted of students achievement , and parents satisfaction.

2. About model evaluation found that the model was useful , concordance , and feasible , however for using this model the user ought to aware of school size and school identity.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)