โมดูลการเรียนรู้ เรื่องการประเมินผลโครงการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา Learning Module on Program Evaluation in Vocational Education Institute
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สร้างโมดูลการเรียนรู้ เรื่อง การประเมินผลโครงการ ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา 2)เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการศึกษาโมดูลการเรียนรู้ วิธีการวิจัยมี5ขั้นตอนได้แก่1)การตรวจเอกสารศึกษาแนวคิดทฤษฎี 2)การศึกษาบริบทและสำรวจสภาพปัญหาของอาจารย์ในการประเมินผลโครงการ 3)สร้างโมดูลการเรียนรู้ เรื่อง การประเมินผลโครงการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา4)ขั้นหาคุณภาพ การทดสอบคุณภาพเครื่องมือ 5)เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง การประเมินผลโครงการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประชากร คือ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจจากการศึกษาโมดูลการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า1)อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี ทำแบบทดสอบก่อนเรียนได้ คะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 43.98 และหลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 71.70 สรุปได้ว่าคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบก่อนเรียนเปรียบเทียบกับคะแนน แบบทดสอบหลังเรียนนั้น คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.73 2)อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี มีความพึงพอใจต่อการใช้โมดูลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุดคือด้านภาษา และระดับมาก ในด้านเนื้อหา ด้านส่งเสริมการเรียนรู้ และด้านสื่อ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย สถานศึกษาอาชีวศึกษา ควรกำหนดเป็นนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร โดยให้บุคลากรทุกคนมีความรู้ เรื่อง การประเมินผลโครงการในสถานศึกษาในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำโครงการจัดทำความรู้ เรื่องการประเมินผลโครงการ
ABSTRACT
The two objectives of this research were to create learning module on program evaluation in vocational education institute and to compare learning outcome before and after applying the module. There were five steps of research methodologies, namely reviewing relevant previous researches, concepts, theories and principles; studying contexts and problems in evaluating project in educational institute; creating the module; testing the quality of the module and comparing learning outcome. The research target population was 44 instructors of the Suranari Technical College (STC). The data for the research was collected by questionnaires and tests (i.e. context and problem questionnaires, satisfaction questionnaires, learning test) and analyzed by descriptive statistics (i.e. mean, standard deviation).
The research revealed that the average test scores of STC’s instructors before and after applying the module were 43.98 and 71.70 per cent respectively. Furthermore, in the overall, STC’s instructors were satisfy with the module. For each aspect of satisfaction, they were most satisfy in language aspect followed by content, learning support and media aspects respectively .It was recommended that Vocational Education Institute should set a policy to improving all staff’s knowledge on program evaluation in education institute. There should be a workshop training on program evaluation for their staffs.