การประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณธรรมของนักเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา Need Assessment Virtue of Graduate Students in Educational Technology
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพที่คาดหวังและสภาพความจริงด้าน คุณธรรมของนักเทคโนโลยีและสื่อสารการ ศึกษา (2) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้านคุณธรรมของนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณาจารย์และนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ ในระดับปริญญาโทที่มีการจัดการเรียนการสอนและกำลังศึกษาอยู่ใน สาขา วิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ปีการศึกษา 2559 จากสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศไทย 5 สถาบันได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยเกษตร-ศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหา-วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีจำนวนประชากรอยู่ที่ 112 คน แบ่งเป็นอาจารย์ 32 คน นิสิตนักศึกษา 80 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ 30 คน นิสิตนัก ศึกษา 68 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เป็นอาจารย์กับนิสิต แล้วใช้การเลือกตัวอย่างแบบสะดวกสบาย (Convenience หรือ Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยคือ แบบประเมินความต้องการจำเป็นด้านคุณธรรมของนิสิตนักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธีคำนวณ Priority Need Index แบบปรับปรุง PNI Modified
ผลการวิจัยพบว่า
1.ความต้องการจำเป็นสูงสุดด้านคุณธรรมนักเทคโนโลยีการ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชา คือ การขออนุญาตเจ้าของสื่อ เช่นภาพ เสียง วิดีโอ ก่อนนำมา ใช้ในงานของตน PNI =0.4
2.ความต้องการจำเป็นสูงสุดด้านคุณธรรมของนักเทคโนโลยีการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิต คือ การใช้ software computer ถูกต้องตามลิขสิทธิ์PNI = 0.38
ABSTRACT
This research aims (1) to study the current conditions and the desired conditions of the virtue of educational technologist. (2) to set priorities of the virtue needs assessment of educational technologist. The population and the sample was Instructor and graduate student in educational technology field of study from 5 Autonomous University including Ramkhamhaeng University, Kasetsart University, Chulalongkorn University, Srinakharinwirot University And Rajamangala University of Technology Thanyaburi The population were 32 Instructor and 80 graduate students. Samples were selected by stratified random sampling and every stratum were selected by Convenience or Accidental Sampling. Research tool was questionnaire. Data were analyze using mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNI Modified) The research results were as follows: (1) Needs virtue of graduate student in educational technology from Instructor sample is “allowing owners of media such as images, audio, video, before used.” (PNI = 0.4) (2) Needs virtue of graduate student in educational technology from graduate student sample is “the use of software computer valid license” (PNI = 0.38)