ปัจจัยค้ำจุนอิทธิพลข้ามระดับที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน และผลสำเร็จของงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา: การศึกษาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ Hygiene Factor, A Cross-level Effects on Teachers’ Job Satisfaction and Job Performance: A Multilevel Structural Eq
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างพหุระดับระหว่างปัจจัยอิทธิพลค้ำจุนกับความพึงพอใจในงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ เพื่อศึกษาอิทธิพลข้ามระดับ (Cross-level effect) ของปัจจัยค้ำจุนต่อ ผลสำเร็จของงาน การศึกษาอิทธิพลคั่นกลาง (Mediating effect) ของตัวแปรความพึงพอใจในงานและเพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับ (Cross-level interaction) ของปัจจัยค้ำจุนต่อผลสำเร็จของงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ครูและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ โดยทำการศึกษาจากตัวอย่างครูจำนวน 821 คน และผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 94 คนข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากแหล่งทุติยภูมิ ของ สุรัตน์ กุดกันยา (สุรัตน์ กุดกันยา, 2555)
ผลการศึกษาพบว่า โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างพหุระดับ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี (CFI = .99, RMSEA = .06) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในตัวแปร(Intraclass correlation coefficient: ICC) สูงมาก โดยมีค่า ICC โดยเฉลี่ยเท่ากับ .65 แสดงให้เห็นว่าความแปรปรวนของตัวแปรตามความพึงพอใจในงานสามารถอธิบายได้จากปัจจัยในระดับที่ 2 (ระดับโรงเรียน) ได้ถึงร้อยละ 65 ในระดับสถาบัน (ระดับที่ 2) พบว่าปัจจัยค้ำจุนมีอิทธิพบข้ามระดับ (Cross-level effect) กับความพึงพอใจในงานของครู (Random intercept) และเป็นไปในทิศทางบวกแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนที่มีปัจจัยค้ำจุนมากขึ้นจะส่งผลให้ความพึงพอใจในงานของครูเพิ่มขึ้นด้วยและในทางตรงกันข้ามโรงเรียนที่มีปัจจัยค้ำจุนน้อยก็จะส่งผลให้ครูในโรงเรียนมีความพึงพอใจในงานน้อยไปด้วย และปัจจัยค้ำจุนยังมีอิทธิพลข้ามระดับในทางบวกกับความความสำเร็จในการปฏิบัติงานของครูในทางตรงและทางอ้อมผ่านความพึงพอใจในงานของครูแต่ไม่พบว่าปัจจัยค้ำจุนมีปฏิสัมพันธ์ข้ามระดับ (cross-level interaction) กับความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับผลสำเร็จของงาน ส่วนในระดับที่ 1 พบว่า ความพึงพอใจในงานของครูมีอิทธิพลในทางบวกกับผลสำเร็จในงานของครู แสดงให้เห็นว่าตัวแปรความพึงพอใจในงานของครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediating effect) ของอิทธิพลปัจจัยค้ำจุนต่อความสำเร็จในงานของครู
ABATRACTS
The objectives of this study were to construct the Multi-level Structural Equation Model of the hygiene factor on teachers’ job satisfaction in small primary school in Nongkai and Buengkan province, to study the cross-level effect of hygiene factor on teachers’ performance, to study the mediating effect of variable job satisfaction, and to study the cross-level interaction of hygiene factor on the relationship between teachers’ job satisfaction and teachers’ performance.The population under investigating were 821 teachers and 94 principals, which were collected from the secondary source of SutatKudkanya (2012) data base.
The finding were that, the model fit well to the empirical data (CFI = .99, RMSEA = .06), and the intra-class correlation was fairly high (ICC = .65)which indicates that the variation of teachers’ job satisfaction can be explained at the group level about 65%. At level 2 or institutional level, the cross-level effect of hygiene factor on teacher performance (random intercept) was positively significant which indicates that whenever hygiene factor of schools increased, teachers’ job satisfaction trend to increased too, and vise versa . And also found that hygiene factor was positively effecting teachers’ job satisfaction as well, however, the cross-level interaction of hygiene factor on the relationship between teachers’ job satisfaction and teachers’ performance was not statistically significant.Meanwhile, at the level 1 or individual level, teachers’ job satisfaction had positively effecting teachers’ performance, which showed that teachers’ job satisfaction is acting as a mediating effect of hygiene factor through teachers’ performance.