การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาทของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชน ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2) ศึกษาบริบทความเหมือนและความแตกต่างของโครงการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจรายย่อย ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ (3) ศึกษาหาความสัมพันธ์ของรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์OTOPระดับ1-3ดาวจำนวน100คนเครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบและความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาด้วยโปรแกรมทางสถิติ และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ด้วยเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า (1) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมดำเนินงานกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์OTOPโดยผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการทางความคิดที่ต่อยอดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ยังไม่ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต (2) โครงการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจรายย่อย ต่างมุ่งเน้นนำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าของตนเพื่อให้กิจการสามารถขายสินค้ามีกำไร และดำรงอยู่รอดได้ในธุรกิจ (3) รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาทของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความสัมพันธ์กัน โดยโมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ Chi-square= 23.044, Chi-square/df=1.440, df=16, p=.113, GFI=.953, CFI=.988, RMR=.029, RMSEA=.067, NFI=.963
The role of OTOP producers in Mae Hong Son province in building economic value, with the participation of other stakeholders, in communities through the use of production innovation
This research is focused on OTOP producers in Mae Hong Son province and aims: (1) to investigate the participation of stakeholders in the producers’ operations; (2) to compare the role of community and regional producers, small-and medium-sized enterprises, and community and micro-enterprises in building economic value in the community through the use of innovation and creativity; and (3) to research the relationships between the types of innovation used. The research group comprised 100 OTOP producers, rated with between 1 and 5 stars. The research tools used were questionnaires, which were analyzed with descriptive statistics, Percentage, mean, standard deviation, and factor and correlation analysis through the use of Statistical software, andinterviews, which were investigatedwith contentanalysis. The research fndings are that: (1) public and private organizations cooperate with OTOP producers through procedures that involve the application of local wisdom but they have yet to develop innovations to apply to production; (2) community and regional producers, small-and medium-sized enterprises, and community and micro-enterprises all emphasize the application of innovation to production processes as a way of staying in business and of increasing profts; and (3) the types of participation of stakeholders and the role of OTOP producers in building value for the community through innovation showed the following empirical relationships: Chi-square=23.044, Chi-square/df=1.440, df=16, p=.113, GFI=.953, CFI=.988,RMR=.029, RMSEA=.067,NFI=.963.