รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส เขต 1

Main Article Content

นิรุทธ์ นันทมาศวังนรา
สุวพร เซ็มเฮง
อิศรัฎฐ์ รินไธสง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต1และ3)ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ไปใช้โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสภาพการนิเทศภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูปฏิบัติการ จำนวน 192 คน และศึกษาแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 และตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และขั้นตอนที่3ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้โดยผู้บริหารสถานศึกษาหัวหน้างานวิชาการ และครูปฏิบัติการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาสเขต1 จำนวน 192 คน ผลการวิจัย พบว่า1. สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต1โดยภาพรวมและเป็นรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน
ด้านการให้ความรู้ ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการประเมินผลการดำเนินงานตามลำดับ 2. รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ประกอบด้วย กระบวนการนิเทศภายใน 4 ด้าน และหลักการส่งเสริมประสิทธิภาพ 4 หลักการ เป็นตัวขับเคลื่อน กระบวนการนิเทศภายใน ได้แก่ การวางแผนการนิเทศภายใน การให้ความรู้ การสร้างขวัญและกำลังใจ และการปฏิบัติงานและการประเมินผลส่วนหลักการส่งเสริมประสิทธิภาพได้แก่การใช้ภาวะผู้นำ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์การตระหนักในความมีมนุษย์สัมพันธ์ และการมีส่วนร่วม 3. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต 1ไปใช้พบว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

An Effective Model for Internal Supervision of Schools Under the Narathiwat Primary Educational Service Area Offce 1

The objective of this research was to 1) study the internal supervision of schools under the Narathiwat Primary Education Service Area Offce 1; 2) develop an effective model for internal supervision of schools under the Narathiwat Primary Education Service Area Offce 1; and 3) evaluate the suitability and applicability of the developed model. The research consisted of three stages. The frst stage consisted of defning the framework of an effective model for internal supervision of schools from literature, concepts, theories, and relevant researches; investigating the internal supervision of schools under the Narathiwat Primary Education Service Area Offce 1 by using questionnaires with 192 individuals comprising of school administrators, academic head offcers, and teachers; and explored effective methods for internal supervision by interviewing 9 experts. The second stage consisted of developing an effective model for internal supervision of schools
under the Narathiwat Primary Education Service Area Offce 1 and examining its suitability by 5 experts. The third stage consisted of inspecting the applicability of the model via 192 individuals comprisingof schooladministrators,academic headoffcers,andteachers. The research fndings were as follows: 1. The current internal supervision condition schools under Narathiwat Primary Education Service Area Offce1 in both over all and individual aspects were at high performance.
The individual aspects rank in descending order of average scores were: encouragement, internal supervisionplanning, knowledge transfer, operation, andperformanceevaluation. 2. The effective model for internal supervision of schools under Narathiwat Primary Education Service Area Offce 1 consisted of 4 components of internal supervision process and 4 principales of internal supervision enhancement. The 4 components of internal supervision process were internal supervision planning, knowledge transfer, encouragement, and performance evaluation. The 4 principals of internal supervision enhancement were using leadership, supporting of creativity, having awareness of human relations,and giving participation. 3. Result of inspecting the applicability of the model showed that the effective model for internal supervision of schools under Narathiwat Primary Education Service Area Offce1 was highly suitable and applicable.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)