การจัดการเรียนการสอนหลังสถานการณ์ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

Main Article Content

พรหมพิริยะ พนาสนธิ์
เจริญ แสนภักดี

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามนโยบาย 5 ด้าน ตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กับประสิทธิผลของการจัดการศึกษาของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 ปีพุทธศักราช 2558 จำนวน 2,083 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอนได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ของเพียร์สัน ผลการศึกษา 1. ระดับความคิดเห็นของ ครูผู้สอน และบุคลากรการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและเกี่ยวกับประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต1โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การปฏิบัติตามนโยบายเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนกับประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก(rxy=.925) เมื่อพิจารณาระดับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยพบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับสูง3องค์ประกอบ คือ 1) การเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสารและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน 2) การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และ 3) การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนและองค์ประกอบย่อยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง 2 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน และ 2) การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

Learning Conductibility after Enter for The Asian Community of The School Under The Cha-Choeng-SaoPrimary Educational Service Area Offce 1

The study was to investigate the relationship between implementing follow ASEAN declaration in educational aspect and educational effectiveness of the School in Mueng District underThe Cha-Choeng-Sao PrimaryEducationalServiceAreaoffce
1. The population used in this study were 2,083 persons who included of teachers and school civil services of theschool inMueng District at 2015 academic year and were selected by multistagerandom sampling to be a sample group that had sample size 327 persons. The instruments used in this study was a questionnaire survey of a series were divided into 3 parts which the scale value were 5 levels Ratting Scale. Data analysis were done by basic statistics which consisted of the percentage, mean, standard deviation and hypothesis weretested by Peason’s product momentcorrelationcoeffcient. Theresults revealed as follows: 1. The opinions level of teachers and school civil services for implementing follow ASEAN declaration in educational aspect andeducational effectiveness of school were bothathigh level in overall. 2. There were positive relationship as a whole at the highest level and still positive relationship at high level as individual aspects between implementing follow ASEAN declaration in educational aspect and educational effectiveness of the school under The Cha-Choeng-Sao Primary Educational Service Area offce 1. There were 3 sub elements which stood on high relationship as follow 1) dissemination of knowledge, information and attitude about ASEAN 2) student and population potential development for enter to ASEAN properly 3) preparedness free education for AESEAN and 2 sub elements which stood on moderate relationship as follow 1) education standards development for student and teacher rotation inASEAN 2) youth development for theresourceof ASEAN.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)