8 ทักษะ “ความฉลาดทางดิจิทัล” ของนักศึกษาวิชาชีพครูสู่การเป็นพลเมือง 4.0

Main Article Content

นิตยา นาคอินทร์
สุภาณี เส็งศรี
รุจโรจน์ แก้วอุไร
กิตติพงษ์ พุ่มพวง

บทคัดย่อ

ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ : Digital Intelligence Quotient) หรือ ความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้แต่ละคนสามารถเผชิญกับความท้าทายหรือบททดสอบของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัล เป็นทักษะที่พลเมืองในยุค 4.0 จำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลนี้ โดยเฉพาะนักศึกษาวิชาชีพครูที่จะต้องมีทักษะนี้ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเอาตัวรอด ทักษะชีวิต เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาททั้งในด้านการดำรงชีวิต รวมถึงด้านสังคมการเรียนรู้ของทั้งครูและนักเรียนมากขึ้น รูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปทำให้นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องรู้จักวิธีการรับมือกับเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ รอบตัว รวมไปถึงต้องรู้วิธีการที่จะดำรงชีวิตอยู่ในยุคดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความสุขโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งทักษะความฉลาดทางดิจิทัล มีอยู่ 8 ทักษะ คือ อัตลักษณ์ทางดิจิทัล (Digital Identity) การใช้ประโยชน์จากดิจิทัล (Digital Use) ความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Safety) ความมั่นคงทางดิจิทัล (Digital Security) ความฉลาดทางอารมณ์ในโลกดิจิทัล (Digital Emotional Intelligence) การสื่อสารทางดิจิทัล (Digital Communication) ความรู้เรื่องดิจิทัล (Digital Literacy) สิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights) ทักษะดังกล่าวจะเป็นทักษะที่เชื่อมโยงไปสู่การเป็นพลเมือง 4.0 หรือพลเมืองดิจิทัลนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พิจิตรา เพชรเพรี. (2562). พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship). สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562, จาก https://bit.ly/2MgdOqH

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. (2560). ทักษะทางดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับเด็กในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2561, จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642553

สรานนท์ อินทนนท์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ digital intelligence). สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562, จาก https://bit.ly/2EHbuns

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2561). เทรนด์การเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563, จาก http://www.thai-explore.net/search_detail/result/7072

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2562, จาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017.html

Park, Yuhyun. (2019). DQ global standards report 2019 common framework for digital literacy, skills and readiness. Retrieved September 11, 2019, from https://www.dqinstitute.org/dqframework/#digital_intelligence