About the Journal

Focus and Scope

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ/บทความวิจัย และ Book review ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้า ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม
3. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรรศนะทางวิชาการ อันจะก่อนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง

Peer Review Process
ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารดำรงวิชาการผ่านกระบวนการกลั่นกรองคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องสามท่าน อย่างไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนและผู้อ่าน (Double Blind Review) และได้รับความเห็นชอบจากคณะบรรณาธิการวารสาร โดยรายละเอียดและเนื้อหาที่ปรากฏถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว และความรับผิดชอบเฉพาะของผู้เขียน ไม่จำเป็นต้องตรงกับความคิดเห็นหรือเป็นความรับผิดชอบของคณะบรรณาธิการผู้จัดทำ

Publication Frequency

วารสารดำรงวิชาการมีกำหนด ออกปีละ 2 ฉบับ ราย 6 เดือนของทุกปี (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม) จัดพิมพ์จำนวน 300 เล่มต่อฉบับ 

*หมายเหตุ* ปัจจุบัน วารสารดำรงวิชาการ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเผยแพร่วารสาร จากเดิม "เผยแพร่วารสารเป็นรูปเล่ม"  เปลี่ยนเป็น "เผยแพร่วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์" ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2567) เป็นต้นไป

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

Journal History

วารสารดำรงวิชาการเป็นวารสารวิชาการของคณะโบราณคดี ซึ่งเป็นวารสารประจำคณะฯ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ/บทความวิจัย และ Book review ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม ของคณาจารย์ นักวิชาการ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือนักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้า ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม และให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรรศนะทางวิชาการ อันจะก่อนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจัดพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบันมีกำหนด ออกปีละ 2 ฉบับ ราย 6 เดือนของทุกปี (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม)

Publication Ethics

จริยธรรมในการตีพิมพ์ของวารสารดำรงวิชาการ

1. บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งเข้าตีพิมพ์เป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และคำนึงถึงจริยธรรมด้านการอ้างอิง ประโยชน์ทับซ้อน แหล่งทุน รวมทั้งข้อมูลที่ไม่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง อนึ่งจะต้องเรียบเรียงบทความตามรูปแบบที่ทางวารสารกำหนดไว้ตามคำแนะนำในการเตรียมบทความ
2. บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
บรรณาธิการมีหน้าที่คัดเลือกบทความเข้าตีพิมพ์โดยคำนึงถึงความใหม่และความแท้ทางด้านวิชาการไปจนถึงจริยธรรมของผู้เขียนว่ามิได้คัดลอกผลงานของผู้อื่นมา และอำนวยการให้การพิจารณาคุณภาพของบทความในวารสารอยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งไม่มีผลประโยชน์ซ้อนทับกับผู้นิพนธ์บทความและผู้เกี่ยวข้อง
3. บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
ผู้ประเมินบทความควรใช้ความรู้ความสามารถในสาขาวิชาที่ตนเองเชี่ยวชาญเพื่อกลั่นกรอง ตรวจสอบ และแนะนำเพิ่มเติมให้เป็นประโยชน์กับการปรับปรุงบทความ และมีจริยธรรมในการไม่เปิดเผยชื่อผู้นิพนธ์รวมถึงข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความที่ตนรับประเมิน และหากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ควรหลีกเลี่ยงการรับประเมินบทความ
4. จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ 
หากบทความของผู้เขียนเกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องได้รับความยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือยินยอมจากผู้ป่วย หรือ หนังสือรับรองจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันแนบมาด้วยเสมอ ในกรณีที่ไม่มีเอกสารประกอบการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ กองบรรณาธิการจะพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด