Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • ตั้งการหน้ากระดาษบทความลงในกระดาษขนาด A4 (พิมพ์หน้าเดียว) แบบ 1 คอลัมน์ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Word for Windows หรือซอฟท์แวร์อื่นที่ใกล้เคียงกัน จำนวนประมาณ 26 บรรทัดต่อหนึ่งหน้า ใช้รูปแบบฟอนท์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเป็น TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยต์ ทั้งบทความ หากมีการใช้อักษรพิเศษให้ส่งแบบอักษร (Font) นั้นมาพร้อมกันด้วย และใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้าด้านบนขวายกเว้นหน้าแรก
  • ตั้งค่าหน้ากระดาษในส่วนของระยะขอบกระดาษ โดยให้ระยะขอบบน ขนาด 1.5 นิ้ว และระยะขอบล่าง, ซ้าย, ขวา ขนาด 1 นิ้ว
  • จำนวนหน้าทั้งหมดตั้งแต่เนื้อหารวมบทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ บรรณานุกรม และภาพประกอบต้อง ต้องไม่เกิน 15 หน้า
  • บทคัดย่อภาษาไทย และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) จำนวนอย่างละ 1 ย่อหน้า โดยภาษาไทยมีความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 และภาษาอังกฤษมีความยาวประมาณ 250 คำ พร้อมคำสำคัญต่อท้าย (Keywords,Tags) จำนวนไม่เกิน 5 คำ
  • ในส่วนบทนำ ใส่ชื่อ – นามสกุล ของผู้เขียนบทความ หรือผู้เขียนร่วม หากมีตำแหน่งทางวิชาการให้นำใส่ในเชิงอรรถท้ายหน้า

  • รูปแบบการอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม มีอยู่ในรูปแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี (ดาวน์โหลดรูปแบบการอ้างอิงและบรรณานุกรม  คลิกที่นี่)

  • ไฟล์บทความ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ในรูปแบบไฟล์ .doc
  • ไฟล์ รูปภาพ - ตาราง (กรณีมีภาพหรือตารางประกอบให้สร้างแยกจากบทความ)
    สำหรับรูปภาพประกอบขอให้มีความละเอียดไม่ต่ำกว่าไม่ต่ำกว่า 300 dpi/inch หรือ ไม่ต่ำกว่า 1 MB ต่อภาพ รวมทั้งระบุที่มาของภาพหากมิใช่ภาพที่ผู้เขียนถ่าย หรือจัดทำด้วยตนเอง

  • บทความนี้เป็นของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว และ/หรือเป็นผลงานของข้าพเจ้าและผู้ร่วมงาน ตามชื่อที่ระบุในบทความจริง  และเป็นผลงานที่มิได้ถูกนำเสนอหรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน

Author Guidelines

รายละเอียดการเตรียมบทความเพื่อเสนอขอลงตีพิมพ์ในวารสารดำรงวิชาการ คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร

1. ตัวบทความ พร้อมบทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
               1.1 พิมพ์ผลงานโดยใช้โปรแกรม Microsoft Word for Windows หรือซอฟท์แวร์อื่นที่ใกล้เคียงกัน จัดการแสดงผลรูปแบบขนาด A4 (มุมมองหน้าเดียว) แบบ 1 คอลัมน์ จำนวนประมาณ 26 บรรทัดต่อหนึ่งหน้า ใช้รูปแบบอักษร (Font) ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเป็น TH Sarabun PSK หรือ TH Sarabun New ขนาด 16 พอยต์ ทั้งบทความ หากมีการใช้อักษรพิเศษ ให้ส่งแบบอักษร (Font) นั้นมาพร้อมกันด้วย และใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้าด้านบนขวายกเว้นหน้าแรก
               1.2 ตัวเลขให้ใช้รูปแบบเลขอารบิค สำหรับพิมพ์บทความ เว้นแต่การใช้เลขไทยจากการอ้างอิงตามเอกสารชั้นต้น
               1.3 ตั้งค่าหน้ากระดาษในส่วนของระยะขอบกระดาษ โดยให้ระยะขอบบน ขนาด 1.5 นิ้ว และระยะขอบล่าง, ซ้าย, ขวา ขนาด 1 นิ้ว
               1.4 จำนวนหน้าทั้งหมดตั้งแต่เนื้อหารวมบทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ บรรณานุกรม และภาพประกอบ ต้องไม่เกิน 15 หน้า
               1.5 บทคัดย่อภาษาไทย และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) อย่างละ 1 ย่อหน้า โดยภาษาไทยมีความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 และภาษาอังกฤษมีความยาวประมาณ 250 คำ พร้อมคำสำคัญต่อท้าย (Keywords, Tags) จำนวนไม่เกิน 5 คำ
               1.6 ไฟล์ บทความ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไฟล์ .doc และ .pdf)
               1.7 ในส่วนบทนำ ใส่ชื่อ – นามสกุล ของผู้เขียนบทความ หรือผู้เขียนร่วม หากมีตำแหน่งทางวิชาการให้ใส่ในเชิงอรรถท้ายหน้า

2. รูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา: ระบบนาม-ปี
               การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาให้ใช้ระบบนาม-ปี คือ การแทรก “อ้างอิง” อยู่ในเนื้อหาของบทความ วิธีการคือ ให้พิมพ์ ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ เครื่องหมายทวิภาค และเลขหน้าที่อ้างอิง ภายในเครื่องหมายวงเล็บ สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการอ้างอิงและบรรณานุกรมได้ที่ คลิกที่นี่

3. รูปภาพประกอบ หรือตาราง
               ภาพหรือตารางประกอบให้สร้างแยกจากบทความ ในกรณีที่บทความมีภาพประกอบ ให้ผู้เขียนแยกไฟล์ .doc ของภาพประกอบพร้อมคำบรรยายออกมาอยู่ส่วนท้ายของบทความหลังบรรณานุกรม (ไม่แทรกภาพประกอบในเนื้อหาบทความต้นฉบับ) โดยภาพประกอบจะต้องระบุหมายเลขของภาพ และคำบรรยายซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับหมายเลขที่ตรงกับเนื้อหาในบทความ ส่วนตัวไฟล์ภาพประกอบ (เช่น .JPEG) ให้ตั้งชื่อเป็นหมายเลขตรงกันกับหมายเลขคำบรรยายภาพ (เช่น 01,02,03…..) แยกใส่ใน Folder ของภาพประกอบออกมาต่างหาก (ไฟล์ .JPEG / Resolution ไม่ต่ำกว่า 300 dpi/inch หรือ ไม่ต่ำกว่า 1 MB ต่อภาพ รวมทั้งระบุที่มาของภาพหากมิใช่ภาพที่ผู้เขียนถ่าย หรือจัดทำด้วยตนเอง)

หมายเหตุ ผู้เขียนสามารถดูรายละเอียดและข้อแนะนำได้ที่ : www.tci-thaijo.org/index.php/damrong/announcement  

ข้อแนะนำการจัดทำต้นฉบับบทความ วารสารดำรงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

1. กำหนดออก
                 กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ทุก ๆ 6 เดือน (ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม)

2. การส่งบทความ
                ส่งบทความโดยผ่านระบบการจัดการวารสารออนไลน์ Thai Journals Online (ThaiJO) ได้ที่ www.tci-thaijo.org/index.php/damrong ประกอบด้วย
                2.1 แบบเสนอขอส่งบทความ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ คลิกที่นี่ 
                2.2 ส่งบทความผ่านระบบการจัดการวารสารออนไลน์ได้ที่ www.tci-thaijo.org/index.php/damrong

3. การพิจารณา และตีพิมพ์บทความ
               3.1 บทความต้องเป็นบทความวิชาการ/บทความวิจัย และ Book review ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม ทำให้เกิดการค้นคว้า ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรรศนะทางวิชาการ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื้อหาบทความต้องมีความสมบูรณ์ ชัดเจน ถูกต้อง และมีการอ้างอิง/บรรณานุกรมที่ถูกต้อง
               3.2 หากมีประเด็นทางวิชาการที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความของวารสารดำรงวิชาการฉบับย้อนหลังควรอ้างอิงบทความเหล่านั้น เพื่อแสดงถึงความครบถ้วนของการค้นคว้างานที่เกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ของการทบทวนวรรณกรรม และความถูกต้องทางวิชาการรวมทั้งเพื่อให้สามารถประเมินความเป็นงานบุกเบิก (originality) ของบทความ ทั้งนี้สามารถเข้าดูวารสารฉบับตีพิมพ์ที่ผ่านมาได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/damrong/issue/archive 
               3.3 กระบวนการตั้งแต่ส่งบทความเข้ามายังกองบรรณาธิการ เพื่อขอรับการพิจารณาจนถึงการตีพิมพ์ จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้กลั่นกรองบทความ หากประสงค์จะลงตีพิมพ์ในวารสาร ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) ของแต่ละปี จะต้องส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาไม่ช้าไปกว่าวันที่ 31 ธันวาคม ของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ช่วงเวลาการตีพิมพ์บทความขึ้นอยู่กับมติของกองบรรณาธิการและการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ

4. ขั้นตอนการพิจารณาบทความ
              4.1 ผู้เขียนส่งบทความ บทคัดย่อ แบบฟอร์มเสนอบทความ (ดาวน์โหลดแบบเสนอขอส่งบทความ คลิกที่นี่) พร้อมทั้งเอกสารประกอบการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี) เสนอต่อกองบรรณาธิการ เพื่อรับการพิจารณาเบื้องต้นทางอีเมล damrong_journal2@hotmail.com ระยะเวลาพิจารณา (เดือน) โดยประมาณ 1 เดือน
              4.2 ผู้เขียนรับทราบผลการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ทางอีเมล damrong_journal2@hotmail.com โดยจะแจ้งเป็น 3 กรณี ดังนี้
                     4.2.1 ขอให้ดำเนินการปรับแก้บทความให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะกองบรรณาธิการ เมื่อผู้เขียนดำเนินการดังกล่าวแล้ว จึงส่งบทความที่ปรับแก้ตามกองบรรณาธิการ ทางอีเมล damrong_journal2@hotmail.com เพื่อให้กองบรรณาธิการพิจารณาอีกครั้งเป็นการเตรียมความเรียบร้อยของบทความก่อนเสนอผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรอง (ต่อกระบวนการข้อ 4.3) ระยะเวลาพิจารณา (เดือน) โดยประมาณ 2 เดือน 
หรือ              4.2.2 ขอให้พิจารณาดำเนินการปรับแก้บทความให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะกองบรรณาธิการ โดยหากยังประสงค์ที่จะส่งบทความเพื่อขอรับการตีพิมพ์กับวารสารฯ ต่อไป ขอให้ดำเนินการปรับแก้ (โดยประมาณ 1 เดือน) และส่งกลับมาให้กองบรรณาธิการ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (ต่อข้อกระบวนการข้อ 4.1) ระยะเวลาพิจารณา (เดือน) โดยประมาณ 1 เดือน 
หรือ              4.2.3 กองบรรณาธิการ พิจารณาในเบื้องต้นแล้ว มีมติไม่เห็นชอบบทความพร้อมแจ้งข้อเสนอแนะ และกำหนดรับบทความเข้าใหม่ในรอบของปีที่ / ฉบับที่ ถัดไปแก่ผู้เขียน ระยะเวลาพิจารณา (เดือน) โดยประมาณ 1 เดือน 
              4.3 กองบรรณาธิการ แจ้งผู้เขียนดำเนินการปรับแก้บทความ (ถ้ามี) หลังจากนั้นส่งต้นฉบับบทความที่ปรับแก้แล้ว แบบฟอร์มเสนอบทความ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเสนอบทความ คลิกที่นี่)  พร้อมทั้งเอกสารประกอบการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี) เข้าระบบการจัดการวารสารออนไลน์ ThaiJo ทาง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/damrong  เมื่อผู้เขียนดำเนินการดังกล่าวแล้ว กองบรรณาธิการจักส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองบทความต่อไป ระยะเวลาพิจารณา (เดือน) โดยประมาณ 1 เดือน 
             4.4 กองบรรณาธิการ แจ้งผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้เขียนจะต้องดำเนินการปรับและแก้ไขบทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะและส่งกลับมาให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา (กรณีผู้ทรงคุณวุฒิขอพิจารณาอีกครั้ง) ระยะเวลาพิจารณา (เดือน) โดยประมาณ 1 เดือน 
             4.5 กองบรรณาธิการ พิจารณาบทความที่ผู้เขียนปรับแก้ตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย จากนั้นจึงออกแบบตอบรับการตีพิมพ์ให้ผู้เขียน (ขั้นตอนการออกแบบตอบรับการตีพิมพ์จะใช้เวลาประมาณ 3 - 4 เดือน หลังจากผู้เขียนส่งบทความที่ปรับและแก้ไขตามผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแล้วมายังกองบรรณาธิการ) ระยะเวลาพิจารณา (เดือน) โดยประมาณ 1 เดือน 
             4.6 หากไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติม กองบรรณาธิการจะดำเนินการในขั้นตอนการตีพิมพ์วารสารต่อไป หากยังมีข้อแก้ไขอีก กองบรรณาธิการจะติดต่อผู้เขียน ให้ดำเนินการแก้ไขจนกว่าจะสมบูรณ์ โดยตั้งแต่ข้อ 4.3 สามารถติดต่อได้ทางอีเมล damrong_journal2@hotmail.com ระยะเวลาพิจารณา (เดือน) โดยประมาณ 1 เดือน

หมายเหตุ
1) กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณาตีพิมพ์นั้น ขึ้นอยู่กับกองบรรณาธิการ และผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ
2) กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความที่ไม่จัดรูปแบบให้ถูกต้อง ตามการอ้างอิงและการจัดทำบรรณานุกรมของวารสารดำรงวิชาการ
3) กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความที่ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ/กองบรรณาธิการ
4) กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดำเนินการเพื่อสมัครขอรับการตีพิมพ์ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

5. ค่าธรรมเนียมการลงบทความ
              ค่าธรรมเนียมการลงบทความ จำนวนบทความละ 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน) วารสารฯ จะแจ้งให้ชำระเงินค่าธรรมเนียมลงบทความ เมื่อบทความผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความแล้วเท่านั้น เมื่อชำระเงินดังกล่าวแล้วสามารถส่งหลักฐานการโอนเงินเพื่อขอรับใบเสร็จรับเงินส่งมายัง damrong.journal@gmail.com เพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้เขียนต่อไป (ดาวน์โหลดแบบขอชำระค่าธรรมเนียมการลงบทความ คลิกที่นี่)โดยสามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
             ชื่อบัญชี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
             เลขที่บัญชี 026 - 0 - 27861 - 0 สาขาท่าเตียน

6. ติดต่อสอบถาม และดาวน์โหลดแบบเสนอขอส่งบทความ
            Email: damrong_journal@hotmail.com
            Facebook: www.facebook.com/DamrongJournal
            Website: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/damrong/announcement

7. การอ้างอิง และเขียนบรรณานุกรม
           วารสารดำรงวิชาการ ได้กำหนดเกณฑ์รูปแบบการอ้างอิงและการจัดทำบรรณานุกรมแบบระบบนาม-ปีขึ้น โดยปรับปรุงจากมาตรฐานของสมาคมสังคมวิทยาอเมริกัน (ASA) และสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ผู้เขียนสามารถดาวน์โหลดรูปแบบการอ้างอิงและบรรณานุกรมได้ที่ คลิกที่นี่

Publication Ethics
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งเข้าตีพิมพ์เป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และคำนึงถึงจริยธรรมด้านการอ้างอิง ประโยชน์ทับซ้อน แหล่งทุน รวมทั้งข้อมูลที่ไม่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง อนึ่งจะต้องเรียบเรียงบทความตามรูปแบบที่ทางวารสารกำหนดไว้ตามคำแนะนำในการเตรียมบทความ

 

วารสารดำรงวิชาการ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/damrong

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.