การวิเคราะห์ประเภทเนื้อหาของข่าวสารบนแฟนเพจหนังสือพิมพ์ แรงจูงใจ และพฤติกรรมในการใช้ของผู้อ่าน

ผู้แต่ง

  • นภารัตน์ พฤกษ์สุราลัย คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ประเภทเนื้อหา, แรงจูงใจในการใช้, พฤติกรรมการใช้, ความจริงจังในการใช้, แฟนเพจหนังสือพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทเนื้อหาของข่าวสารที่ปรากฏบนแฟนเพจหนังสือพิมพ์ แรงจูงใจ และพฤติกรรมในการใช้ของผู้อ่านด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา ประเภทข่าวสารบนโพสต์ต่าง ๆ ที่อยู่ในแฟนเพจหนังสือพิมพ์ข่าวสด ไทยรัฐ และโพสต์ทูเดย์ โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 23 พฤศจิกายน 2559 จำนวน 952 โพสต์ และการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์แบบวัดผลครั้งเดียวเพื่อศึกษาแรงจูงใจและพฤติกรรมการใช้ของผู้อ่าน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม 2559 จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (T-test Groups) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบ Kruskal Wallis และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อทดสอบสมมติฐาน

การวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า แฟนเพจหนังสือพิมพ์มีโพสต์ข่าวอาชญากรรมมากที่สุด เกือบทั้งหมดเป็นข้อความพร้อมภาพประกอบ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับโพสต์คือการกดปุ่มแสดงอารมณ์ ส่วนการสำรวจผู้อ่านแฟนเพจหนังสือพิมพ์พบว่าเกือบทั้งหมดติดตามแฟนเพจไทยรัฐ รองลงมา คือ ข่าวสด และโพสต์ทูเดย์ ตามลำดับ โดยติดตามแฟนเพจหนังสือพิมพ์แห่งอื่นด้วย แต่ไม่อ่าน/ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือพิมพ์กระดาษ ผู้อ่านแฟนเพจหนังสือพิมพ์เป็นเพศชายและหญิงในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุ 19-35 ปี (Gen Y หรือ Millennial) การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ส่วนตัว 10,000–30,000  บาทต่อเดือน  ใช้เฟซบุ๊กเป็นประจำช่วงเย็นถึงค่ำ  (16.01-22.00 น.) ผ่านโทรศัพท์มือถือ ผู้อ่านเกือบทั้งหมดใช้เฟซบุ๊กทุกวัน ใช้งาน 7 ครั้งขึ้นไปต่อวัน 15-30 นาทีต่อครั้ง โดยเข้าใช้จากที่พักมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างติดตามแฟนเพจหนังสือพิมพ์เพราะมีแรงจูงใจด้านข่าวสาร ด้านบันเทิง และด้านสังคมในระดับมากทั้ง 3 ด้าน และมีความจริงจังในการใช้แฟนเพจหนังสือพิมพ์ในระดับมาก 

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้อ่านที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกันทั้งในเรื่องของเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีแรงจูงใจในการใช้แฟนเพจหนังสือพิมพ์ไม่แตกต่างกัน ผู้อ่านที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกันทั้งในเรื่องของเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความจริงจังในการใช้แฟนเพจหนังสือพิมพ์ไม่แตกต่างกัน และแรงจูงใจในการใช้แฟนเพจหนังสือพิมพ์มีความสัมพันธ์กับความจริงจังในการใช้แฟนเพจหนังสือพิมพ์ในทางบวก

References

1. กนกวรรณ ดุษฎีพาณิชย์. (2556). การนำเสนอเนื้อหาทางเฟซบุ๊กแฟนเพจในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

2. กาญจนา แก้วเทพ. (2546). “ปัจจัยมนุษย์ในการสื่อสาร” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและพฤติกรรม
การสื่อสาร. หน่วยที่ 4. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

3. กิตติ กันภัย. (2556). การวิเคราะห์ผู้รับสารสื่อมวลชน. กรุงเทพมหานคร: เหรียญบุญการพิมพ์.

4. ขวัญเรือน กิติวัฒน์ และภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2542). “ปัจจัยเงื่อนไขแห่งพฤติกรรมการสื่อสาร” ใน
เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมการสื่อสาร. หน่วยที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
5. จุฑามณี คายะนันทน์. (2554). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซ
บุ๊คดอทคอม. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร
สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

6. ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี. (2560, 12 พฤษภาคม). สื่อมวลชนยังจำเป็นหรือไม่ในยุค Social Media ครอง
โลก?. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.thairath.co.th/content/939422.

7. ณัฐจิตต์ บูราณทวีคูณ วลัยรัตน์. (2560, 23 พฤษภาคม). ทำไม TWITTER ถึงกลายเป็นโซเชียลมีเดียที่
เติบโตสูงสุด. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560 จาก http://marketeer.co.th/archives/119015.

8. ณัฐภัทร บทมาตร. (2553). การศึกษาลักษณะพฤติกรรมและคุณลักษณะที่ผู้บริโภคเลือกใช้เว็บไซต์
เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

9. ณัฐพล หิรัญเรือง. (2556). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊กชาวไทยต่อการเผยแพร่ข้อมูล
ทางการท่องเที่ยวผ่านเฟซบุ๊กของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

10. ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2558). Digital Martketing: Concept & Case Study อัพเดท 2015. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

11. เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงาน:
มุมมองระหว่างเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. ปีที่ 31 ฉบับที่ 121: 1-25.

12. นสพ.ดิอินดิเพนเดนท์ของอังกฤษวางแผงฉบับสุดท้าย ยุติจำหน่ายหลัง 30 ปี เดินหน้าออนไลน์เต็มรูปแบบ. (2559, 26 มีนาคม). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559, จาก http://www.matichon.co.th/news/84998.

13. นรินทร์ นำเจริญ. (2549). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรายงานข่าว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

14. ปณิธี สายสงเคราะห์. (2552). การรายงานเหตุการณ์ประเภทข่าวเบาในหนังสือพิมพ์รายวันกับลักษณะการวางกรอบของสื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

15. พิชามญชุ์ มะลิขาว. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นสตรีผ่านสื่อสังคมออนไลน์
เฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี

16. เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

17. ภาณุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษาFacebook. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

18. มนวิภา วงรุจิระ. (2547). “การเปลี่ยนแปลงของข่าวในยุคสารสนเทศ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการข่าว
เบื้องต้น. หน่วยที่ 10. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

19. มาลี บุญศิริพันธ์. (2556). วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

20. วิมลพรรณ อาภาเวท, สาวิตรี ชีวะสาธน์ และชาญ เดชอัศวนง. (2556). พฤติกรรมการสื่อสารในเฟซบุ๊คของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2: 119-130.

21. วัฒนพงษ์ นิ่มสุวรรณ. (2555). แนวคิดการใช้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก และทัศนคติ แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกดปุ่ม ถูกใจ ให้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊กของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาการสารสนเทศ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการ
ท่องเที่ยว สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

22. ศศิมา ชัยวรจินดา. (2555). พฤติกรรมการสื่อสาร การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเฟซบุ๊กของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

23. ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2558). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

24. สมสุข หินวิมาน. (2546). “ปัจจัยสื่อในการสื่อสาร” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและพฤติกรรมการ
สื่อสาร. หน่วยที่ 5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

25. สื่อใหม่ ทางรอดสื่อเก่าเสริมคอนเทนท์เจาะเจนวาย. (25 สิงหาคม 2558). กรุงเทพธุรกิจ.
สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับบลิกา. (2559). อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไทย “นิตยสาร” ปิดตัว เปลี่ยนเวที
“หนังสือพิมพ์” ทรงกับทรุด–งานหนังสือยอดขายลด 25%. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2559, จาก https://thaipublica.org/2016/01/print-1.

26. สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2560, จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/ 17972/20096.pdf.

27. อรรถพล ร่วมสุข. (2556). การศึกษาประเภทเนื้อหาที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของกลุ่มลูกค้าบนเฟซบุ๊ก.
รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

28. ฤทัย เตชะบูรณเทพาภรณ์. (2554). แรงจูงใจ และ ปัจจัยทางการตลาดบนเฟซบุ๊ก ที่มีผลต่อ
การตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

29. อนาคตสิ่งพิมพ์. (2555, 6 พฤษภาคม). สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559, จาก
http://www.thairath.co.th/content/258101.

30. อิงค์ควิตี้ดอตคอม. (2557.) 10 ข้อดี Facebook Fan Page ต่อธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2559 จาก:
http://incquity.com/articles/tech/10-ways-facebook-fan-page-help-business.

31. Andrew, P. (2015). Social media usage: 2005-2015. Retrieved April 12, 2016, from
www.pewinternet.org/2015/10/08/social-networking-usage-2005-2015.

32. Andrew, H. (2016). New comScore traffic underlines the strength of Facebook, rise of
Snapchat. Retrieved April 20 2016, from http://www.socialmediatoday.com/social-
networks/new-comscore-traffic-report-underlines-strength-facebook-rise-snapchat.

33. Bialik, K. and Matsa, K. E. (2017). Key trends in social and digital news media. Pew research
center. Retrieved November 18, 2017, from http://www.pewresearch.org/fact-tank/2017/10/04/key-trends-in-social-and-digital-news-media/

34. Fry, R. (2016). Millennials overtake baby boomers as America’s largest generation. Pew
Research Center. Retrieved December 19, 2016, from http://www.pewresearch.org/fact-tank/2016/04/25/millennials-overtake-baby-boomers.

35. Glass, A. (2007). Understanding generational differences for competitive success.
Industrial and Commercial Training, 39, 2: 98-103.

36. Hoping to find some new fans for a great brand. (2009). MediaWeek, 19, 36:13-15.
Katz, E., Blumler, J. G. and Gurevitch, M. (1974). Uses and gratifications research,
The Public Opinion Quarterly, 37(4): 509–523.

37. Kenix, L. J. (2009). Blogs as alternative. Journal of Computer-Mediated Communication,
14: 790-822.

38. Maeve, D. (2015). The demographics of social media users. Pew Research Center.
Retrieved April 12 2015, from www.pewinternet.org/2015/08/19/the-demographics-of-social-media-users.

39. McQuail, D. (2010). McQuail’s mass communication theory. 6th ed. London: Sage.
Newman, N., Fletcher, R., Levy, D. A. L. and Neilsen, R. K. (2016). Reuters institute digital news
report 2016. Retrieved June 22 2016, from http://reutersinstitute.politics.ox.ac.uk/sites/default/files/Digital-News-Report-2016.pdf

40. Park, N. and Lee, S. (2014). College students' motivations for Facebook use and psychological
outcomes. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 58(4): 601-620.

41. Pavlik, J. V. and McIntosh, S. (2011). Converging media: a new introduction to mass
communication. 2nd ed. New York: Oxford University Press.

42. Pew Reseach Center. (2008). Key news audiences now blend online and traditional sources.
Retrieved May 27, 2017, from http://www.people-press.org/2008/ 08/17/key-news-audiences-now-blend-online-and-traditional-sources.

43. Prueksuralai, N. (2014). The role of blogs as news sources: a study of audiences and news
professionals in Thailand. Doctoral dissertation, University of Leicester.

44. Ruehl, C. H. and Ingenhoff, D. (2015). Communication management on social networking sites. Journal of Communication Management, 19(3): 288-302.

45. Smock, A.D., Ellison, N.B., Lape, C., and Wohn, D.Y. (2011). Facebook as a toolkit: a uses and
gratification approach to unbundling feature use. Computer in Human Behavior, 27: 2322-2329.

46. Socialbakers.com. (2016). Facebook pages stats in Thailand. Retrieved June 29, 2016,
from http://www.socialbakers.com/statistics/facebook/pages/local/thailand/page-4-8
47. Tewksbury, D. and Rittenberg, J. (2012). News on the internet: information and citizenship in 21th Century. New York: Oxford University Press.

48. Tongsibsong, J. (2012). A genre analysis in English editorials regarding hard news in
broadsheet and tabloid newspapers. Masters’ thesis, National Institute of Development Administration.

49. Tutchanok, H. D. (2009). The relationship between print and electronic newspapers in
Thailand in 2000: in terms of production processes and news contents.
Doctoral dissertation, University of Leicester.

50. Wright, K. B. (2005). Researching Internet-based populations: advantages and
disadvantages of online survey research, online questionnaire authoring software
packages, and web survey services. Journal of Computer-Mediated Communication, 10
(3): 00-00.

51. Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25