การนำเสนอเรื่องเด่นของนิตยสาร New Silk Road กับบทบาทการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย – จีน

ผู้แต่ง

  • กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ชาติณรงค์ วิสุตกุล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • โสภัทร นาสวัสดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ชญานี ช้างหลำ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จักรพงษ์ ทองภูสวรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทคัดย่อ

New Silk Road  Magazine เป็นนิตยสารทดลองของคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เกิดขึ้นจาก แนวคิดที่ว่าน่าจะมีสื่อที่ให้ความรู้เกี่ยวกับไทย-จีนแก่ประชาชนทั่วไปเพราะในปัจจุบันการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนระหว่างไทย-จีน มีมากขึ้นเรื่อยๆ  โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อเป็นสื่อการให้ความรู้ในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ ข่าวสาร วัฒนธรรมทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศจีน และเรื่องราวในประเทศไทย อันจะนำมาสู่ความเข้าใจกันและกันมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของบทความ ต้องการศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของนิตยสาร New Silk Road ศึกษากระบวนการจัดทำนิตยสาร และการคัดเลือกเรื่องเด่น หรือ เรื่องจากปก ของนิตยสาร New Silk Road ว่าได้ทำหน้าที่ในการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย – จีน ได้หรือไม่ อย่างไร โดยจะศึกษาจำนวน 12 เล่มจาก 24 เล่ม เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของเรื่องเด่น และการทำหน้าที่ในการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย – จีน ที่นิตยสาร New Silk Road ได้นำเสนอ

จากการศึกษาพบว่า นิตยสาร New Silk Road  มีบทบาทหน้าที่เป็นสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-จีน นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการค้า ศิลปวัฒนธรรมโดยไม่พูดถึงเรื่องการเมืองของทั้งสองประเทศ  ในส่วนของกระบวนการจัดทำนิตยสารรัฐบาลจีน ไม่เคยเข้ามาแทรกแซงหรือก้าวก่ายการนำเสนอเนื้อหาและภาพของนิตยสารแต่อย่างใด เรื่องเด่นที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรม มีเพียงฉบับเดียวที่นำเสนอเรื่องราวทางการเมือง

Author Biography

กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 

References

บรรณานุกรม
1. กองบรรณาธิการ. (2558). โครงการผลิตนิตยสาร New Silk Road. เอกสารอัดสำเนา. หน้า 1 – 7.

2. กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช. (2560) . สัมภาษณ์ 24 พฤศจิกายน

3. ชาติณรงค์ วิสุตกุล (2554) , การสำรวจความเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับความเป็นกลางในการเสนอข่าวของ CRI
Online (China Radio International) ภาคภาษาไทย . วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 7(2) ,
หน้า158 – 159

4. ณจักร วงศ์ยิ้ม. (2560) . สัมภาษณ์ 27 พฤศจิกายน

5. วิภา อุตมฉันท์ และ นิรันดร์ อุตมฉันท์. (2549). เจาะลึกสื่อจีน . กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

6.ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน . (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน, สืบค้น
25 พฤศจิกายน 2560 , จาก http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/thai-china/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-25