การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียในการคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์

ผู้แต่ง

  • มรรยาท อัครจันทโชติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดวงกมล ชาติประเสริฐ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดีย, ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่, เขื่อนแม่วงก์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียในการคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ และผลของการเล่าเรื่องที่ทำให้คนเกิดความผูกพันร่วมในประเด็นดังกล่าว โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การวิเคราะห์ตัวบท และการสัมภาษณ์เชิงลึก

          ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรในช่วงกิจกรรมเดินเท้า 13 วันแม่วงก์-กรุงเทพฯ สอดคล้องกับแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดีย ซึ่งนอกจากจะเป็นการเล่าเรื่องหลายเรื่องผ่านสื่อหลายแพลตฟอร์มแล้ว ยังทำให้ผู้รับสารเกิดความผูกพันร่วมจนเข้ามาเป็นผู้ร่วมเล่าเรื่องเพื่อขับเคลื่อนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ด้วย ทั้งนี้ มีการออกแบบให้กิจกรรมเดินเท้าเป็นแพลตฟอร์มศูนย์กลางของการเล่าเรื่อง และใช้เฟสบุ๊กแฟนเพจของศศิน เฉลิมลาภ เป็นแพลตฟอร์มสนับสนุนหลัก กลวิธีสำคัญที่ใช้ในการเล่า คือ การสร้างความใกล้ชิด การสร้างตัวละครคู่ขัดแย้ง และเน้นเนื้อหาเชิงอารมณ์

อย่างไรก็ตาม การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียในโครงการนี้ ยังไม่ได้ถูกออกแบบอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ความผูกพันร่วมของคนไทยในประเด็นดังกล่าวกลับหายไปในเวลาไม่นาน เนื่องจากปัจจัยด้านความต่อเนื่องของการสื่อสาร แนวทางการทำงานของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรที่ละเลยกลุ่มอาสาสมัคร และสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง

Author Biographies

มรรยาท อัครจันทโชติ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดวงกมล ชาติประเสริฐ, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

1. กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อเล็ก ๆ ที่น่าใช้ในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

2. ตุลย์ ปิ่นแก้ว. ผู้ก่อตั้ง change.org ประเทศไทย. (23 ธันวาคม 2558). สัมภาษณ์
3. ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2543). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม. การประชุมนักวิจัยโครงการพลวัตเศรษฐกิจการเมืองไทย พ.ศ.2543. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. มรรยาท อัครจันทโชติ. (2557). การข้ามพ้นสื่อ (Transmedia): การข้ามพ้นเทคโนโลยีไปสู่ปรัชญาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม. วารสารนิเทศศาสตร์, 32(1), หน้า 1-18.

5. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (16 กุมภาพันธ์ 2557). บรรยายพิเศษในหัวข้อวารสารศาสตร์แห่งอนาคตแก่นิสิตนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. ศศิน เฉลิมลาภ. (2557). สถานะเดินเท้า. กรุงเทพฯ: คมบาง.

7. สิตางศุ์ จุลชาต. อาสาสมัครกลุ่ม Green Move Thailand. (7 มกราคม 2559). สัมภาษณ์

8. Beddows, E. (2012). Consuming Transmedia: how audiences engage with narrative across multiple story modes. PhD Thesis (Faculty of Life and Social Sciences), Swinburne University of Technology, Australia.

9. Bracht, N. and R. E. Rice (2012). Community Partnership Strategies in Health Communication. Public Communication Campaigns. Thousand Oaks: Sage.

10. Graves, M. (2011). Lost in a Transmedia Storytelling Franchise: Rethinking Transmedia Engagement. Doctor of Philosophy, University of Kansas.

11. Jenkins, H. (2003). Transmedia Storytelling. MIT Techonology Review. Retrieved Febuary 27, 2014, from http://www.technologyreview.com/news/401760/transmedia-storytelling.

12. Jenkins, H. (2006). Convergence culture: where old and new media collide. New York: New York University Press.

13. Jenkins, H. (2009). The Revenge of the Origami Unicorn: Seven Principles of Transmedia Storytelling. Retrieved March 11, 2014, from http://henryjenkins.org/2009/12/the_ revenge_ of_the_origami_uni.html

14. Kinder, M. (1991). Playing with Power in Movies, Television, and Video Games: From Muppet Babies to Teenage Mutant Ninja Turtles. California: University of Californai Press.

15. Martens, M. (2011). Transmedia teens: Affect, immaterial labor, and user-generated content. Convergence: The International Journal of Research into New Media Technologies. 17(10), pp.49-68.

16.Russell, C. A. and C. P. Puto (1999). Rethinking Television Audience Measures: An Exploration into the Construct of Audience Connectedness. Marketing Letters, 10(4), pp.387-401.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-26