การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่ออนุรักษ์อัตลักษณ์ทางล้านนาของชุมชนเทศบาลตำบลเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม, อัตลักษณ์ล้านนา, ชุมชน, เทศบาลตำบลเวียงชัย

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่ออนุรักษ์อัตลักษณ์ล้านนาของชุมชนเทศบาลตำบลเวียงชัย จังหวัดเชียงรายมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจเอกลักษณ์ทางล้านนาที่ชุมชนต้องการอนุรักษ์ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการสื่อสารที่มีในชุมชน และ 3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่ออนุรักษ์อัตลักษณ์ล้านนาของชุมชนอย่างเหมาะสม

การวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เริ่มจากการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview)กลุ่มผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 11 คน ร่วมกับการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เยาวชน 10 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่า IOC = .87 และค่า r = .83 เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างจำนวน 400 คน

ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ทางล้านนาที่ต้องการอนุรักษ์แบ่งเป็น 1) ประเพณีของล้านนาแต่ละเดือน 2) พิธีกรรมแบบล้านนา 3) วิถีชีวิตแบบล้านนา 4) ศิลปะการแสดงแบบล้านนา และ 5) ศิลปะหัตถกรรม

แนวทางการอนุรักษ์อัตลักษณ์ล้านนาพบว่า ผู้อาวุโสในชุมชนต้องอธิบายความหมายและความสำคัญของเอกลักษณ์ล้านนาให้คนรุ่นหลังเข้าใจให้เห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ล้านนาที่สะสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เปิดพื้นที่ให้มีการแสดงออกให้แก่อัตลักษณ์ล้านนา ซึ่งอาจต้องมีการประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย ในส่วนของผู้นำจะต้องเป็นบุคคลที่ในชุมชนเชื่อถือ มีความเข้มแข็งสามารถสร้างศรัทธาในแก่สมาชิกในชุมชนหันมาร่วมมือในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ล้านนา และที่สำคัญหน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุน

ส่วนแนวทางการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ล้านนาจะต้องมีองค์ประกอบ คือ 1) กลุ่มผู้สื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสารและผู้รับสารที่จะต้องมีความเชื่อถือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำหรือผู้ส่งสารต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่กลุ่มผู้รับสาร 2) เนื้อหาการสื่อสารที่จะใช้ถ่ายทอดอัตลักษณ์ล้านนา จะต้องเป็นเนื้อหาแสดงถึงอัตลักษณ์ล้านนาที่ตกทอดมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการประยุกต์ไปตามยุคสมัย แต่ก็จำเป็นต้องมีกลิ่นไอแห่งล้านนาดำรงอยู่ด้วยเสมอ และ 3) ช่องทางการสื่อสาร ประกอบด้วย เครื่องมือการสื่อสาร อาทิ เสียงตามสาย โทรศัพท์ การประชุมกลุ่ม สื่อสังคม และกิจกรรมการสื่อสาร ได้แก่ กิจกรรมการสื่อสารภายในกลุ่มหรือภายในชุมชน และกิจกรรมการสื่อสารสู่สาธารณะ จะต้องเข้ามามีบทบาทในการเผยแพร่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ล้านนาของชุมชนได้อย่างยั่งยืน

Author Biography

เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2542). โครงการวิจัยเพื่อประมวลองค์ความรู้ เรื่อง ระบบการสื่อสารเพื่อชุมชน. รายงานผลการวิจัย กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
2. เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์และจิราพร ขุนศรี. (2548). อัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
3. โกวิทย์ พวงงาม. (2551). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดบุ๊ค.
4. นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2533). แนวทางในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
5. นเรศ สงเคราะห์สุข. (2541). จากแนวคิด…สู่การปฏิบัติ: เสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมบนพื้นที่สูง. เชียงใหม่: สำนักงานโครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน.
6. ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ชุมชน. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา
7. ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). รายงานการวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา.
8. ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
9. ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2542). การสื่อสาร: กลไกสำคัญในการก้าวสู่ประชาสังคมในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).
10. พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์. (2556). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม: กลไกในขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบทางเลือก. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, ปีที่ 30, ฉบับที่ 2: 23-42.
11. รุจิรา สุภาษา. (2542). การสร้างสื่อแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมขององค์กรพัฒนาเอกชน. วิทยานิพนธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2554). ทฤษฎีการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
13. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2556). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ระเบียงทอง
14. สุรพงษ์ โสธนะเสถียรและเกศกนก ชุ่มประดิษฐ์. (2547). การสื่อสารเพื่อการจัดการในชุมชน. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
15. Barker, Chris. (2004). The SAGE Dictionary of Cultural Studies. London: SAGE Publications.
16. Kotler, Philip. (2000). Marketing Management. 10th edition. New Jersey: Prentice Hall, Inc.,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-27