พัฒนาการของภาพผู้หญิงชนบทพลัดถิ่นในเพลงลูกทุ่ง

ผู้แต่ง

  • พันธกานต์ ทานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ภาพตัวแทน, ผู้หญิงชนบทพลัดถิ่น, เพลงลูกทุ่ง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นงานที่ผู้เขียนต้องการตั้งข้อสังเกตต่อปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวกับผู้หญิง ชนบทในเพลงลูกทุ่ง เนื่องจากเพลงลูกทุ่งเป็นภาพจำลองหรือภาพตัวแทนที่สอดรับไปกับความเปลี่ยนแปลง ของชนบทที่เข้มข้นและชัดเจนที่สุด ดังนั้นหากเราจะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของผู้หญิงชนบทในบริบท แบบใหม่แล้ว เพลงลูกทุ่งจึงเป็นพื้นที่ที่จะขานรับกับภาพความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ได้ดี โดยผู้เขียนตั้งวัตถุประสงค์ในการศึกษาภาพตัวแทนของผู้หญิงชนบทในเพลงลูกทุ่งไว้สองประเด็น คือ เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการในการนำเสนอภาพของผู้หญิงชนบทพลัดถิ่นในเพลงลูกทุ่ง และเพื่อให้เห็นถึงบทบาทของเพลงลูกทุ่งจากการนำเสนอภาพของผู้หญิงชนบทพลัดถิ่นต่อสังคมไทย

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเพลงที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้ นำเสนอพัฒนาการของภาพผู้หญิงชนบทพลัดถิ่นเป็นสองระลอก กล่าวคือ ยุคแรกในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นภาพของผู้หญิงที่ดิ้นรนพลัดถิ่นเข้าเมืองด้วยปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน โดยยุคนี้ผู้หญิงจะกังวลถึงความไม่แน่นอนของสังคมเมือง และมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก ยุคสองหลังจากเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวในช่วงหลัง ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา ภาพของผู้หญิงชนบทพลัดถิ่นในระลอกนี้ เป็นภาพของผู้หญิงที่เข้ามาด้วยความหวัง แสวงหาการเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อจะเข้ามาเพิ่มทุนความรู้ และผู้หญิงเหล่านี้ยังมีบทบาทเป็นเสมือนหัวหน้าครอบครัวอีกด้วย นอกจากนั้นเพลงยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้หญิงชนบทพลัดถิ่นในเรื่องของความขยัน ความฝัน ความหวัง ความอดทนเพื่อรอคอยความสำเร็จ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ภาพผู้หญิงพลัดถิ่นในสองระลอกยุคดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปนั้นมาจากความเป็นจริงในชีวิตของผู้หญิงกลุ่มนี้ กล่าวคือ สังคมไทยมีการอพยพ ย้ายถิ่นฐานของผู้หญิงชนบทเข้ามาในสังคมเมืองอย่างไร ผู้หญิงกลุ่มนี้มีพัฒนาการหรือการปรับตัวอย่างไรเพลงลูกทุ่งก็นำเสนอเรื่องราวหรือบันทึกภาพเหตุการณ์เหล่านั้น ผ่านตัวอักษรในเนื้อหาของเพลงลูกทุ่ง ในแต่ละยุคสมัย ด้วยเหตุนี้เพลงลูกทุ่งจึงมีบทบาทเป็นเสมือนกระจกสะท้อนภาพที่เป็นจริงของผู้หญิงชนบทพลัดถิ่น (reflective approach) และเป็นสื่อที่เคียงข้างและสัมพันธ์กับผู้หญิงกลุ่มนี้ ทำให้โลกจริงกับ โลกสัญลักษณ์ของเพลงไม่เคยแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง

Author Biography

พันธกานต์ ทานนท์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้ช่วยหัวหน้าหลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

1.กาญจนา สิงห์อุดมม. (2555). อัตลักษณ์เลขศิลป์ลูกทุ่งไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
2. จินตนา ดำรงเลิศ. (2533). วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง: ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม และการดำเนินชีวิตของ ชาวชนไทยที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งไทย ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. นันดา วีรวิทยานุกูล. (2541). การวิเคราะห์ภาพของผู้หญิงที่ปรากฏในเนื้อหาของเพลงลูกทุ่งระหว่าง ปีพ.ศ. 2525-2540. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. ศิริพร กรอบทอง. (2547). วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร :พันธกิจ
5. สุมิตตา สิงห์โตอ่อน. (2539). ภาพของสตรีในหนังสือพิมพ์รายวัน: การวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึกบรรณาธิการและนักข่าว. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
6. สำนักข่าวสร้างสุข. (2559). สตรีคือสติ คืนความสุขสตรีวัยแรงงาน. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/32731-"สตรีคือสติ"%20คืนความสุขสตรีวัยแรงงาน.html.
7. เอนก นาวิกมูล. (2521). เพลงนอกศตวรรษ. กรุงเทพฯ : การเวก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-27