กลยุทธ์และเครือข่ายการสื่อสารเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การสื่อสาร, เครือข่ายการสื่อสาร, ชุมชนเข้มแข็งบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์และเครือข่ายการสื่อสารเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง และศึกษาการสร้างเครือข่ายการสื่อสารของชุมชนหัวตะเข้ งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Document analysis) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยทำการสัมภาษณ์แบบรายบุคคลและรายกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ กลยุทธ์เกี่ยวกับผู้ส่งสาร กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร และกลยุทธ์เกี่ยวกับการช่องทางการสื่อสาร โดยลักษณะเครือข่ายของสมาชิกกลุ่มแกนนำชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เป็นเครือข่ายการสื่อสารในการกระจายข้อมูลแบบวงล้อ กับเครือข่ายการสื่อสารแบบรูปดาวที่มีศูนย์กลางในการกระจายข้อมูล คือกลุ่มแกนนำชุมชนส่งสารไปยังสมาชิกในชุมชนและเครือข่ายที่เป็นพันธมิตร ส่วนรูปแบบการสื่อสารที่ใช้คือการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการภายในเครือข่ายโดยเน้นใช้สื่อบุคคลเป็นผู้ส่งสาร
References
2. ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2547). ประเด็นหลักในการศึกษาการสื่อสารและเครือข่าย. เอกสารประกอบการสอน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
3. ประเวศ วะสี. (2541). ประชาคมตำบล. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน.
4. พนม คลี่ฉายา. (2549). การประยุกต์สื่อเพื่อการพัฒนา 1. เอกสารประกอบการบรรยายวิชา 2803675. อัดสำเนา.
5. รณชาติ บุตรแสนคม. (2545). เครือข่ายและกระบวนการทำข่าว ของสำนักข่าวเด็กและเยาวชน “ขบวนการตาสับปะรด”. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2553). เครือข่ายและกลยุทธ์การสื่อสารของสถาบันพัฒนาการเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์ จังหวัด สุพรรณบุรีย์ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2537). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. Leavitt, H. J. (1964). Managerial Psychology. Chicago: The University of Chicago Press.
9. Rogers, E. M., & Kincaid, L. (1981). Communication networks toward a New paradigm for research. New York: The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....