การสำรวจประเด็นทางจริยธรรมในการบริหารจัดการและนำเสนอเนื้อหา ของหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัล: กรณีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้

ผู้แต่ง

  • เมธาวี จำเนียร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น, จริยธรรม, ยุคดิจิทัล, การบริหารจัดการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น, การนำเสนอเนื้อหาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) สำรวจจริยธรรมในการบริหารจัดการและการนำเสนอเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้ตามกรอบข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2541 (2) เสนอแนวทางการพัฒนาจริยธรรมในวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยในเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกคณะผู้บริหารองค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น องค์กรละ 1 คน และผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 คน จาก 3 จังหวัด จังหวัดละ 3 ฉบับ รวม 17 คน และการวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวที่ปรากฏในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้ รวม 9 ฉบับ ระหว่าง มกราคม – ธันวาคม 2558 รวม 917 ชิ้นข่าว นำเสนอเปรียบเทียบในเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมีลักษณะละเมิดจริยธรรมด้านการบริหารจัดการที่เหมือนกันของตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ การเรียกรับเงินจากแหล่งข่าว การออกหนังสือพิมพ์รายสะดวกเพื่อหวังค่าโฆษณาจากแหล่งข่าว และการคัดลอกภาพและข่าวโดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา ด้านการนำเสนอเนื้อหา พบว่า ข่าวที่มีลักษณะเข้าข่ายละเมิดจริยธรรมมากที่สุด คือ ประเด็นการไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ นำเสนอภาพที่น่าหวาดเสียว และการแอบแฝงการโฆษณาในเนื้อหาข่าวมีจำนวน 73 ชิ้นข่าว จาก 917 ชิ้นข่าว หรือร้อยละ 8  และประเด็นไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย มีการนำเสนอข่าวทางเดียว หรือไม่ได้ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในข่าวได้แสดงความคิดเห็นจำนวน 62 ชิ้นข่าว จาก 917 ชิ้นข่าว หรือร้อยละ 7  สอดคล้องกับเมื่อพิจารณาเนื้อหาโดยรวมของชิ้นข่าวทั้งหมด 917 ชิ้นข่าว ซึ่งมีชิ้นข่าวที่มีเนื้อหาเข้าข่ายละเมิดจริยธรรมหนังสือพิมพ์เพียง 151 ข่าว หรือร้อยละ 17 เท่านั้น สำหรับแนวทางพัฒนาจริยธรรมในวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ การเข้าร่วมสภาวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งชาติ (สนภช.)  โดยเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดระเบียบช่วยเหลือด้านรายได้แก่นักวิชาชีพหนังสือพิมพ์  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติควรมีกฎหมายควบคุมสื่อท้องถิ่น นักวิชาชีพหนังสือพิมพ์ควรได้รับการศึกษาด้านสื่อมาโดยตรง  ผู้บริโภคสื่อต้องเป็นคนกระตุ้นผลักดัน  และเป็นคนคัดกรอง ให้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ในทางที่ดี

ขึ้น และองค์กรที่ดูแลเรื่องสื่อ ควรสร้างจิตสำนึก  เปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวดูตัวอย่างงานข่าวที่มีคุณภาพ รวมทั้งทัศนศึกษาดูงานจากหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง นอกจากนี้ผู้ให้ข้อมูลได้ให้ข้อเสนอแนะแก่องค์กรหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่จะทำเฟซบุ๊ก การทำสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (E-book), โทรทัศน์ทาง YouTube หรือ Google+ การสร้างเครือข่าย การเปลี่ยนแปลงและตอกย้ำตราสินค้า และพัฒนาผู้สื่อข่าวให้เป็นบุคคลที่มีทักษะรอบด้าน

Author Biography

เมธาวี จำเนียร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

References

1. เกศินี จุฑาวิจิตร. (2548). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

2. คณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงชุดวิชาการผลิตหนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชา การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

3. คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2547). เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยที่ 8-15 (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

4. จักร์กฤษ เพิ่มพูล (บรรณาธิการ). (2556). 16 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

5. จันทนา ทองประยูร. (2552). การหลอมรวมหนังสือพิมพ์กับสื่อออนไลน์. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ., 1(1).

6. บรรยงค์ สุวรรณผ่อง และคณะ. (2552). สถานภาพและบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย. สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.tja.or.th/ index.php?option=com_content&view=article& id =3066:2012-11-01-09-20-06&catid=64:2009-10-01-09-28-52&Itemid=32 (สืบค้นข้อมูล: 25 มิถุนายน 2558).

7. ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

8. พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช. (2542). ปฏิรูปสื่อมวลชนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมและผลักดันองค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีอิสระตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลนายน์ พริ้นติ้ง.

9. มาลี บุญศิริพันธ์. (2550). วารสารศาสตร์เบื้องต้น ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ: สามลดา.

10. ลดาวัลย์ แก้วสีนวล. (2552). ยุทธศาสตร์การแข่งขัน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น กับการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนให้
เข้มแข็ง. วารสารคณะวิทยาการจัดการ, 8(8). หน้า 42-44

11. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. (2554). 1.4 ทศวรรษจริยธรรมสื่อ. กรุงเทพฯ: รัตนฟิล์มรีทัชชิ่ง.

12. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และจักร์กฤษ เพิ่มพูล (บรรณาธิการ). (2557). หลักและแนวคิดวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

13. สุภาพร นิลดำ. (2555). การจัดการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายวัน จ.เชียงใหม่. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชานิเทศศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

14. สุภาภรณ์ ศรีดี. (2558). ความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมาย และจริยธรรมของสื่อมวลชนท้องถิ่น.
วารสารอิศราปริทัศน์, 4 (7).

15. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2554). การบริหารงานสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พรินติ้ง.

16. อริน เจียจันทร์พงษ์. (2558). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจและความเป็นสถาบันเพื่อการให้บริการสาธารณะของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคกลาง. วารสารนิเทศศาสตร์, 33(3). หน้า 24-25

17. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (บรรณาธิการ). (2547). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

18. Lewis, Kaufhold & L. Lasorsa. (2009). Thinking about citizen journalism: Perspectives on participatory news production at community newspapers. Retrieved 14 May 2015,from: http://conservancy.umn.edu/handle/11299//123405.

19. Manyozo, L. (2010). Media communication and development: Three approaches. New Delhi: Vivek Mehra for SAGE Publications India Pvt Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-05