แนวทางการเขียนบทรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอสำหรับคนพิการทางการได้ยิน
คำสำคัญ:
บทรายการโทรทัศน์, คนหูหนวก, คนพิการทางการได้ยิน, บทรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการเขียนบทรายการรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอสำหรับคนพิการทางการได้ยิน โดยได้มีการทบทวนวรรณกรรม สัมภาษณ์คนเขียนบทรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอ และจากประสบการณ์ในการเขียนบทรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอของผู้เขียนบทความ รายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอ คือ รายการโทรทัศน์ที่มีการบริการล่ามภาษามือในลักษณะเต็มจอควบคู่ไปกับเสียงพากย์และมีคำบรรยายแทนเสียงตลอดทั้งรายการ เพื่อให้คนพิการทางการได้ยินสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งเพื่อให้ทุกคนสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ร่วมกันได้ ผู้เขียนบทรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอจำเป็นต้องทำความเข้าใจข้อจำกัดในการสื่อสารและธรรมชาติของคนหูหนวก เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการคัดเลือกเนื้อหา การใช้ภาษา การเล่าเรื่องด้วยภาพ และเทคนิคการนำเสนอ
ผลการศึกษาพบว่า หลักการเขียนบทรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอ มี 5 ขั้นตอน คือ 1.)การวางแผนการผลิต (planning) โดยควรอยู่ภายใต้แนวคิด “สนับสนุนคนพิการให้ดำรงชีวิตในสังคมร่วมกับคนทั่วไป” 2.) การค้นคว้าและการคัดเลือกเนื้อหา (research) ควรเลือกเนื้อหาที่เป็นเรื่องใกล้ตัว เน้นสร้างทักษะชีวิต สอดแทรกเนื้อหารายการที่คนพิการสามารถใช้ประโยชน์ได้ 3.) การเขียนโครงเรื่อง (synopsis) การลำดับเรื่องราวต้องไม่ซับซ้อน สลับไปมา 4.) เขียนบทสำหรับถ่ายทำ (shooting script) ผู้เขียนบทควรให้ความสำคัญกับเทคนิคการสื่อสารด้วยภาพ เนื่องจากคนหูหนวกรับรู้ผ่านการมองเห็นเป็นหลัก ไม่ควรมีอะไรรบกวนการสื่อสารด้วยภาษามือ 5.)การตรวจทานและแก้ไขบท (rewriting) ผู้เขียนบทควรมีคนหูหนวกเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นหนึ่งในทีมผู้ตรวจทานและแก้ไขบทเพื่อให้ข้อมูลเรื่องคนพิการที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตสื่อได้ การใช้ภาษาสำหรับคนหูหนวกควรใช้ภาษากึ่งทางการ สั้น กระชับ ได้ใจความ เรียงประโยคไม่ซับซ้อน โดยแบ่งประโยคให้สั้นและเขียนเนื้อหาให้เรียงตามลำดับเวลา
References
ร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
2. คมสัน รัตนะสิมากูล. (2555). หลักการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงและบทวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ตรี บุญเจือ และกีรติ บุญเจือ. (2558). คนพิการกับการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารด้านกิจการกระจาย
เสียงและโทรทัศน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
4. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์. (2560). สืบค้น 12 กรกฎาคม 2561, จาก https://broadcast.nbtc.go.th /data/document/ law/doc/th/610100000001.pdf
5. ประกายรัตน์ ณ ศรีโต, ผู้เขียนบทรายการพลเมือง D (Deaf Citizen) ซีซั่น 3. สัมภาษณ์,
20 สิงหาคม 2561.
6. แผนพัฒนาและเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). (2560). สืบค้น 12
กรกฎาคม 2561, จาก https://www.nstda.or.th/th/publication/11247-national-economic-social-development-plan-12
7. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. (2550). สืบค้น 12 กรกฎาคม
2561, จาก http://www.mol.go.th/content/62670/1504757160
8. พิมพลอย รัตนมาศ, ผู้เขียนบทรายการพลเมือง D (Deaf Citizen) ซีซั่น 3 และรายการสื่อด้วยใจ.
สัมภาษณ์,16 สิงหาคม 2561.
9. ฤทัยพร ม่วงเทศ, สุรพลบุญลือ, และกีรติ ตันเสถียร. (2557). การพัฒนารูปแบบรายการโทรทัศน์
ประเภทรายการข่าวสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและการสื่อความหมาย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 31, 21 สิงหาคม 2557 มหาวิทยาลัยธนบุรี.
10. ศิวนารถ หงส์ประยูร. (2558). การพัฒนารายการข่าวทางสื่ออินเทอร์เนตทีวี (IPTV) สำหรับคนหูหนวก.
วารสารสุทธิปริทัศน์. 29(90), 291-312.
11. สิญาทิพย์ เพี้ยนภักตร์ และสุดถนอม รอดสว่าง. (2558). การประเมินคุณภาพรายการโทรทัศน์ภาษา
มือสำหรับคนหูหนวก การเปิดรับข่าวสาร ความคิดเห็น และการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนที่มีต่อรายการของ Thai Deaf TV. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
12. สำนักงาน กสทช. และสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือการจัดผลิต
รายการวิทยุหรือโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
13. อารดา ครุจิต. (2560). โทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
14. Ofcom. (2014). Review of signing arrangements for relevant TV channels. สืบค้น 12 กรกฎาคม
2561,จาก http://www.ofcom.org.uk/_data/assets/pdf_file/0024/69009/.condoc.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....